RMF ย่อมาจาก Retirement Mutual Fund เป็นกองทุนรวมประเภทหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นทางเลือกหนึ่งในการออมเงินไว้ใช้ในวัยเกษียณ ที่ทางการให้การสนับสนุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ลงทุนเพื่อเป็นแรงจูงใจ
เพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี มีเงื่อนไขการลงทุนดังนี้
- ลงทุนอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยซื้อหน่วยลงทุนของ RMF ไม่น้อยกว่าปีละ 1 ครั้ง และ
- ลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 3% ของเงินได้ที่เสียภาษีในแต่ละปี หรือ 5,000 บาท (แล้วแต่จำนวนใดจะต่ำกว่า) และ
- ไม่ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน (ยกเว้นปีใดไม่มีเงินได้ก็ไม่ต้องลงทุน) และ
- ลงทุนและถือหน่วยลงทุนจนผู้ลงทุนอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และมีการลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ซื้อหน่วยลงทุนครั้งแรก
(การนับ 5 ปีให้นับเฉพาะปีที่มีการซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น กล่าวคือ ปีใดไม่ลงทุนจะไม่นับว่ามีอายุการลงทุนในปีนั้น ๆ)
ผู้ลงทุนต้องดำเนินการ ดังนี้
- กรณีที่ลงทุนไม่ถึง 5 ปี และมีการผิดเงื่อนไข - ต้องคืนเงินภาษีทั้งหมดทุกปี ที่ได้รับยกเว้นไป - เมื่อขายคืนหน่วยลงทุน ต้องนำกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ ซึ่งในทางปฏิบัติ เมื่อผู้ลงทุนขายคืน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% ของกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุนไว้ก่อน และเมื่อผู้ลงทุนไปยื่นแบบเสียภาษีเงินได้ ก็จะคำนวณอีกครั้งว่าจะต้องจ่ายเงินภาษีเพิ่มอีกหรือไม่ อย่างไร
- กรณีที่ลงทุนตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป และมีการผิดเงื่อนไข - ต้องคืนเงินภาษีที่ได้รับยกเว้นไปในช่วง 5 ปีย้อนหลัง (นับตามปีปฏิทิน) การชำระภาษีตาม 1. และ 2. ต้องชำระภายในเดือนมีนาคมของปีถัดจากปีที่ผิดเงื่อนไข และ / หรือ ขายคืนหน่วยลงทุน
- จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี หากมีการลงทุนเป็นไปตามเงื่อนไขที่ทางการกำหนด
- หากลงทุนไม่ถึง 5 ปี กำไรที่ได้จากการลงทุน (capital gain) ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
มีให้เลือกหลากหลายเหมือนกองทุนรวมทั่วไป ตั้งแต่กองทุนที่มีความเสี่ยงต่ำ เน้นลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตร กองทุนที่มีความเสี่ยงปานกลาง ที่ผสมผสานระหว่างการลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารทุน ไปจนถึงกองทุนที่มีความเสี่ยงสูง เน้นลงทุนในตราสารทุน
หากปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุน (ในข้อ 5) ผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีถึง 2 ทางด้วยกัน คือ
ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่ลงทุนจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท PVD / กบข. + RMF ( < 15% ของเงินได้) < 500,000 บาท ทั้งนี้ หากมีการลงทุนเกิน 15% ของเงินได้ หรือเกิน 500,000 บาท เมื่อขายคืนหน่วยลงทุนแล้วมีกำไร ผู้ลงทุนจะต้องนำกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) นับเฉพาะจากส่วนเงินลงทุนที่เกิน ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ทางที่ 1 เงินซื้อหน่วยลงทุนใน RMF จะได้รับยกเว้นไม่ต้องนำไปรวมคำนวณพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามที่ลงทุนจริง สูงสุดไม่เกิน 15% ของเงินได้ในแต่ละปี โดยเมื่อนับรวมกับเงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) แล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาท PVD / กบข. + RMF ( < 15% ของเงินได้) < 500,000 บาท ทั้งนี้ หากมีการลงทุนเกิน 15% ของเงินได้ หรือเกิน 500,000 บาท เมื่อขายคืนหน่วยลงทุนแล้วมีกำไร ผู้ลงทุนจะต้องนำกำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) นับเฉพาะจากส่วนเงินลงทุนที่เกิน ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย
ทางที่ 2 กำไรจากการขายคืนหน่วยลงทุน (capital gain) ไม่ต้องนำไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เหมาะกับคนทุกกลุ่มที่ต้องการออมเงินเพื่อวัยเกษียณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ยังไม่มีสวัสดิการออมเงินเพื่อวัยเกษียณมารองรับ เช่น คนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) รวมทั้งผู้ที่มีสวัสดิการดังกล่าวแล้ว แต่มีความประสงค์ที่จะออมเพิ่มเติมให้มากขึ้น
- ระงับการซื้อหน่วยลงทุนเกินกว่า 1 ปีติดต่อกัน ทั้งที่ยังคงมีเงินได้ หรือ
- จำนวนเงินลงทุนไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือ
- ขายคืนหน่วยลงทุนก่อนที่ผู้ลงทุนจะอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์
ทั้งนี้ หากเป็นไปตามข้อใดข้อหนึ่ง ก็ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุนแล้ว ยกเว้น กรณีที่ผู้ลงทุนเสียชีวิต หรือทุพพลภาพ จะไม่ถือว่าผิดเงื่อนไขการลงทุน