Let’s Go EURO
สหรัฐเผยยอดจ้างงานนอกภาคเกษตร ต.ค. +638,000 ตำแหน่ง ว่างงานเหลือ 6.9% ลดลงจาก 7.9% ดีกว่าคาด การมีส่วนร่วมในกำลังแรงงาน (labor force participation) +0.3% เป็น 61.7% แปลว่าชาวอเมริกันกลับเข้าสู่ตลาดแรงงาน เอกชนจ้างงานเพิ่ม ชดเชยยอดจ้างงานภาครัฐที่ลดลง อย่างไรก็ตาม เกือบ 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ว่างงานทั้งหมดประมาณ 11 ล้านคนนั้นเป็นการ “ว่างงานระยะยาว” (long-term unemployment) ไม่มีงานทำเกิน 6 เดือน อัตราส่วนดังกล่าวเพิ่มขึ้นมากจาก 19% ในเดือน ก.ย.
ตลาดหุ้นพุ่งรับข่าว ข้อมูลแรงงาน ผลประชุมเฟด และผลเลือกตั้งสหรัฐ เพราะบรรดาเทรดเดอร์คาดหวังนโยบาย “ไม่สุดโต่ง” จากสภาคองเกรสและปธน.คนใหม่ในเรื่องแพคเกจกระตุ้นและการขึ้นภาษี เฟดคงผ่อนคลายต่อไปได้ ไม่ต้องกังวลว่าเศรษฐกิจจะร้อนแรงจนต้องถอนมาตรการเร็วๆนี้ สถานการณ์ปัจจุบันจึงเข้าสูตร goldilocks ไม่ร้อนไม่เย็นแค่อุ่นๆ เอื้อต่อการปรับตัวขึ้นไปเรื่อยๆของราคาหุ้น นำโดยกลุ่มเติบโตสูง (growth stocks)
ดอลลาร์อ่อนค่าต่อเนื่อง นักวิเคราะห์ทั่วไปในตลาดรัวกลองลั่นหันมาเชียร์ “ตลาดเกิดใหม่” (emerging markets) ซึ่งฟุบยาวมาเกือบสิบปี รอบนี้มีโอกาสฟื้นตัว เราเชื่อว่าในระยะสั้นกลุ่มที่ “ล้าหลัง” (laggards) อาจจะ outperform พุ่งแรงด้วย sentiment ดังกล่าว ผู้ลงทุนส่วนใหญ่มี positions ในตลาดเกิดใหม่กันไม่น้อยอยู่แล้ว ทั้งกองทุนรวมหุ้น EM และตลาดย่อยแยกรายประเทศ สามารถถือต่อ let profits run รับ fund flows รอบนี้กันได้
“ความไม่แน่นอน” มีอยู่แน่นอน เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างเปราะบาง “ความแข็งแกร่ง” และ “ปัจจัยขับเคลื่อนการเติบโตระยะยาว” ยังคงสำคัญต่อการวางกลยุทธ์ ดังนั้น หากจะเติมกองทุนหุ้นเข้าพอร์ตในบรรยากาศเช่นนี้ เราสบายใจกับความแกร่งของหุ้นจีน KT-Ashares และ KT-CHINA ขณะมุมมองการเติบโตระยะยาวดีขึ้นมากที่ “ยุโรป” เมื่อสหรัฐได้ประธานาธิบดีคนใหม่ผู้ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และเตรียมฟื้นความสัมพันธ์กับพันธมิตรดั้งเดิมในภูมิภาคนี้ เราชอบ KT-EURO ซึ่งกองทุนหลักเน้นหุ้นยุโรปขนาดเล็กไม่รวม UK ล่าสุดสิ้นเดือน ก.ย. ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ “เทคโนโลยีสีเขียว” (green technology) มากถึงราว 30% ของพอร์ต
พี่ใหญ่ชายขอบ
MSCI จะยกระดับหุ้นคูเวต จากตลาดชายขอบ (Frontier Markets: FM) ขึ้นสู่ตลาดเกิดใหม่ (Emerging Markets: EM) ส่งผลดีต่อ “หุ้นเวียดนาม”
MSCI Frontier Markets 100 Index (FM 100) แบ่งการปรับพอร์ต 5 เฟส เริ่มเดือนนี้จนถึง พ.ย. 2021 โดยทยอยลดหุ้นคูเวตลงจาก 28% จนหมดไปในอีก 1 ปีข้างหน้า ขณะสัดส่วนของ “หุ้นเวียดนาม” จะเพิ่มมากกว่าเท่าตัวจาก 12% เป็น 28% ขึ้นแท่น “พี่ใหญ่” ของตลาดชายขอบ นับเป็นปัจจัยดึงดูด fund flows ต่างชาติ และหากมองไกลกว่านั้น เวียดนามก็ได้รับการคาดหมายว่าน่าจะเลื่อนชั้นเข้า Emerging Markets เช่นกันในปี 2022
เราเห็นโอกาสทยอยสะสมกองทุน KT-CLMVT ซึ่งบริหารแบบเชิงรุก (active) เน้นหุ้นที่จดทะเบียนในตลาด กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม และ ไทย (CLMVT) พอร์ตสิ้นเดือน ก.ย. ลงทุนเวียดนาม 68.86% ที่เหลือเป็นหุ้นไทยและสภาพคล่อง มีให้เลือก 2 ชนิด KT-CLMVT-A (สะสมมูลค่า) และ KT-CLMVT-D (จ่ายเงินปันผล)
#สายทริกเกอร์ “ถูกที่..ถูกเวลา..ถูกราคา” KT-TMT (IPO 5-11 พ.ย.)
- บริหารแบบยืดหยุ่น มุ่งเป้าหมาย 7% ใน 7 เดือน
- Thematic Investment เลือกธีมที่ได้ประโยชน์จาก Mega Trends
- China & Asia Tech สอดรับการเติบโตของอินเตอร์เน็ตในจีนและเอเชีย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการใช้เทคโนโลยีในด้านต่างๆเช่น e-commerce, fin-tech ฯลฯ ให้มีโอกาสเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง

อ่านฉบับเต็ม คลิก
https://www.ktam.co.th/asset-allocation.aspx
-------------------------------------------------------------------------
'
