ถ้าต้องการผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคาร ควรลงทุนอะไรดี มีทางเลือกอะไรบ้าง?
วันนี้ บลจ.กรุงไทย มีทางเลือกใหม่มานำเสนอ สำหรับนักลงทุนที่
- ต้องการเพิ่มโอกาสรับผลตอบแทนสูงกว่าเงินฝากธนาคาร
- ไม่ต้องการลงทุนแบบเสี่ยงสูง
- สามารถลงทุนระยะยาว 2.5 - 3 ปี
กองทุนเปิดเคแทม โกลบอล ฟิกซ์ อินคัม 30M1 หรือ KTGF30M1
กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน Invesco Global Bond Fixed Maturity Fund 2022-II* (กองทุนรวมหลัก) เพียงกองเดียว โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่า 80% ของ NAV. หรือตามอัตราส่วนที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. จะประกาศกำหนด
กองทุน KTGF30M1 น่าสนอย่างไร?
|
|
![]() อายุโครงการกองทุนโดยประมาณ 2.5 ปี |
![]() บริหารจัดการโดยทีมลงทุนที่มากประสบการณ์การลงทุนในกองทุนประเภท Fixed Maturity Funds |
กองทุน KTGF30M1 เหมาะสบกับใคร?
- ผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงจากการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ ที่ลงทุนในตราสารหนี้
- ผู้ที่ยอมรับความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
- ผู้ที่สามารถถือครองหน่วยลงทุนจนคบอายุกองทุนได้ ระยะเวลาประมาณ 2.5 ปี และเข้าใจต่อความผันผวนของมูลค่าหน่วยลงทุนได้ทั้งหมด
- ผู้ที่ต้องการโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีจากการนำเงินที่ได้จากการระดมทุนไปลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุนรวมต่างประเทศ
ช่วงเวลาที่ท้าทายในการลงทุน และหาผลตอบแทนในตราสารหนี้

ที่มา Bloomberg ข้อมูล ณ วันที่ 2 ส.ค. 62
เน้นสร้างรายได้ผ่านพอร์ตโฟลิโอที่มีการกระจายความเสี่ยงทั่วโลก
โดยทั่วไป กองทุนตราสารหนี้ที่มีกำหนดอายุโครงการจะประกอบไปด้วยกลุ่มตราสารหนี้ต่างๆ ทั่วโลก ซึ่งเมื่อมองในมุมมองของกระแสรายได้ นักลงทุนในตราสารหนี้ดังกล่าวมีโอกาสได้รับรายได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะเดียวกัน เมื่อมองในมุมมองของราคาตราสาร ความผันผวนมีแนวโน้มต่ำลงเมื่อขยับเข้าใกล้ราคาพาร์

ที่มา Invesco
ตัวอย่าง การกระจายการลงทุนของกองทุนรวมหลัก
โดยปกติ พอร์ตโฟลิโอที่กระจายการลงทุนในตราสารหนี้ทั่วโลกจะประกอบไปด้วยหลักทรัพย์ประเภทตราสารแห่งหนี้ที่อยู่ในหลากหลายอุตสาหกรรม รวมถึงพอร์ตโฟลิโอมีการลงทุนในหลากหลายภูมิภาค

ที่มา Invesco
ข้อมูลกองทุน KTGF30M1

*เป็นอัตราที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือภาษีอื่นใดในทานองเดียวกัน
ความเสี่ยงกองทุน
- ความเสี่ยงทางตลาด (Market Risk)
- ความเสี่ยงจากความสามารถในการชำระหนี้ของผู้ออกตราสาร (Credit Risk)
- ความเสี่ยงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน
- ความเสี่ยงในเรื่องคู่สัญญาในการทำสัญญาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (Counter Party Risk)
- ความเสี่ยงของประเทศที่ลงทุน (Country Risk)
- ความเสี่ยงจากการขาดสภาพคล่องของหลักทรัพย์ (Lliquidity Risk)
- ความเสี่ยงจากข้อจำกัดการนำเงินลงทุนกลับประเทศ (Repatriation Risk)
- ความเสี่ยงที่เกิดจากการย้ายการลงทุนไปกองทุนอื่น
กองทุนนี้มีความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน ทั้งนี้ กองทุนมีนโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน
ผู้ลงทุนต้องทำความเข้าใจลักษณะสินค้า เงื่อนไขผลตอบแทน และความเสี่ยง ก่อนตัดสินใจลงทุน
ศึกษารายละเอียดหรือขอรับหนังสือชี้ชวนที่ ธนาคารกรุงไทย ผู้สนับสนุนการขาย หรือ บลจ.กรุงไทย โทร 02-686-6100 กด 9
หรือ คลิ๊ก