กองทุนรวมต่างประเทศ
ประเภทกองทุน | กองทุนรวมตราสารทุน, กองทุนรวมฟีดเดอร์ (Feeder Fund) | ||||||
ระดับความเสี่ยงกองทุน | 6 | ||||||
นโยบายการลงทุน | กองทุนมีนโยบายเน้นลงทุนในหน่วยลงทุนของกองทุน E.P.I.C. Global Equity Opportunities Fund (กองทุนหลัก) เพียงกองเดียว ในชนิดหน่วยลงทุน (Share Class) “I” ในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม | ||||||
กองทุนรวมหลัก | E.P.I.C. Global Equity Opportunities Fund | ||||||
ISIN กองทุนรวมหลัก | IE000XAUGXW1 | ||||||
บริษัท (กองทุนรวมหลัก) | Architas Multi-Manager Europe Limited | ||||||
นโยบายการลงทุน (กองทุนรวมหลัก) |
จากวัตถุประสงค์การลงทุนตามที่ระบุไว้ข้างต้น กองทุนเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่อยู่ภายใต้ข้อกำหนดการเปิดเผยข้อมูลในมาตรา 9 ของ SFDR (Sustainable Finance Disclosure Regulation (SFDR) คือ กฎระเบียบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่ยั่งยืนของสหภาพยุโรป โดยในส่วนของมาตรา 9 คือ กองทุนที่มีการลงทุนอย่างยั่งยืนตามวัตถุประสงค์ของกองทุน ซึ่งอาจรวมถึงการมีส่วนร่วมในวัตถุประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อมและวัตถุประสงค์ทางสังคม ในขณะเดียวกัน ก็มั่นใจได้ว่าบริษัทที่ได้รับการลงทุนมีการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลที่ดี) กองทุนจะเน้นลงทุน 100% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (ไม่รวมเงินสด) ในหน่วยลงทุน CIS และการลงทุนโดยตรงที่ผู้จัดการเชื่อว่าเป็นการลงทุนที่ยั่งยืน ทั้งนี้ การลงทุนโดยตรงจะไม่เกิน 10% ของ มูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน ผู้จัดการกองทุนจะใช้การวิเคราะห์ภาพรวมและข้อมูลเชิงลึกของตลาดเพื่อค้นหาโอกาสในการสร้างผลตอบแทนให้ได้ดีกว่าตลาด โดยการจัดสรรสินทรัพย์ตามตามดุลยพินิจที่ผู้จัดการกองทุนกำหนด การคัดเลือกหลักทรัพย์ที่จะลงทุน 1. กรณีการลงทุนในหน่วยลงทุน CIS ผู้จัดการกองทุนจะลงทุนในกองทุนที่จัดอยู่ในมาตรา 9 ตาม SFDR โดยยังคงต้องดำเนินการตรวจสอบสถานะ ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล ("ESG") เพื่อประเมินความสามารถในด้าน ESG ของหน่วยลงทุน CIS ที่ไปลงทุน การตรวจสอบสถานะ ESG ดังกล่าว จะจัดทำโดยการออกแบบสอบถาม, การเข้าร่วมประชุมแบบตัวต่อตัวกับผู้จัดการของหน่วยลงทุน CIS ที่ไปลงทุน โดยจะครอบคลุมถึง:
เมื่อได้ข้อมูลการตรวจสอบสถานะ ESG ดังกล่าวแล้ว ผู้จัดการกองทุนจะสามารถให้มุมมองเกี่ยวกับกระบวนการ ESG ของหน่วย CIS นั้น (รวมถึงการเปรียบเทียบกับหน่วย CIS อื่นๆ) และคำนวณคะแนน ESG ในภาพรวม หากหน่วยลงทุน CIS ที่ประเมินมีคะแนนต่ำกว่าค่าเฉลี่ยจะวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อพิจารณาว่าควรนำออกจากกลุ่มที่สามารถลงทุนได้หรือไม่ 2. กรณีการลงทุนโดยตรง ผู้จัดการกองทุนจะพิจารณาการลงทุนในธุรกิจที่ส่งผลเชิงบวกต่อสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อมตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ในระเบียบ SFDR และ Taxonomy (SFDR คือ กฎระเบียบการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินที่ยั่งยืนของสหภาพยุโรป, Taxonomy คือ ระเบียบหรือ ข้อกำหนดกลาง ที่ช่วยให้ธุรกิจ ทราบถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่กำหนดนั้นควรได้รับการพิจารณาว่า "ยั่งยืนต่อสิ่งแวดล้อม" หรือไม่) รวมถึงแนวปฏิบัติด้านการกำกับดูแลกิจการของผู้ประกอบธุรกิจ โดยปัจจัยที่ใช้พิจารณาเช่น บริษัทเหล่านั้นมีส่วนในการจัดการกับความไม่เท่าเทียมหรือส่งเสริมความสามัคคีในสังคม การใช้แรงงานอย่างเป็นธรรม การส่งเสริมคุณภาพและศักยภาพของแรงงาน การใช้พลังงานและน้ำที่สะอาด การจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การขนส่งอย่างยั่งยืน การลดการปล่อยคาร์บอน หรือปัจจัยทางสังคมและ/หรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ผู้จัดการกองทุนเห็นว่ามีความสำคัญเป็นต้น นอกจากนี้ ผู้จัดการกองทุนยังพิจารณาปัจจัยด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีด้วย เช่น โครงสร้างการบริหารจัดการที่ดี ค่าตอบแทนผู้บริหารและพนักงาน ความสัมพันธ์ของพนักงานในองค์กร การปฏิบัติตามภาษี และการรักษาภาพลักษณ์ขององค์กร เป็นต้น ทั้งนี้ ในการพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังกล่าว อาจอาศัยประสบการณ์ความเชี่ยวชาญของผู้จัดการกองทุน การวิเคราะห์วิจัยของผู้จัดการกองทุน รวมถึง ข้อมูลที่ได้รับจากผู้ให้บริการข้อมูลทางการเงินที่มีชื่อเสียง (ถ้ามี) และผู้จัดการกองทุนจะปฏิบัติตาม AXA Group Responsible Policy (“นโยบาย”) ซึ่งนโยบายนี้จะอยู่ในเว็บไซต์ https://protect-eu.mimecast.com/s/yH2zCnzmoIKBMxS9di3a?domain=axa.com การประเมินความเสี่ยงจากการลงทุน ผู้จัดการกองทุนจะประเมินความเสี่ยงโดยพิจารณาทั้งปัจจัยเชิงคุณภาพ เช่น มูลค่าตามปัจจัยพื้นฐานโดยเปรียบเทียบ และสภาพคล่องของหลักทรัพย์ เป็นต้น รวมถึงปัจจัยเชิงปริมาณ เช่น อัตราผลตอบแทนโดยเปรียบเทียบกับความเสี่ยง การป้องกันความเสี่ยงจากการปรับตัวลดลงของราคาหลักทรัพย์ และความสม่ำเสมอของอัตราผลตอบแทน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลมากที่สุดระหว่างการคัดเลือกหลักทรัพย์ที่เข้าหลักเกณฑ์ ESG น้ำหนักของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ความเสี่ยง และผลตอบแทนที่ดีจากการลงทุน การจัดพอร์ตการลงทุน 1. กรณีการลงทุนในหน่วยลงทุน CIS การลงทุนในหน่วยลงทุน CIS มีวัตถุประสงค์เพื่อกระจายความเสี่ยงในการลงทุน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน หรือเพื่อให้สามารถเข้าถึงการลงทุนที่เฉพาะเจาะจงในหน่วยลงทุนใดหรือประเภทสินทรัพย์ใด โดยกองทุนมีเป้าหมายที่จะถือครองสินทรัพย์สุทธิอย่างน้อย 50% และไม่เกิน 100% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ในหน่วยลงทุนประเภท CIS ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาข้างต้น โดยหน่วยลงทุน CIS ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาที่จะลงทุนนั้น อาจมีการลงทุนในทรัพย์สินที่หลากหลาย เช่น ตราสารทุน และ/หรือตราสารที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน ตราสารตลาดเงิน สัญญาซื้อขายล่วงหน้า ดัชนีอ้างอิงทางการเงินและ/หรือสกุลเงินต่างๆ หรืออาจมีการลงทุนแบบเชิงรับ (Passive Management) หรือเชิงรุก (Active Management) รวมถึงอาจมีการลงทุนเกินกว่าส่วนของทุน (Leverage) ได้ นอกจากนี้ กองทุนไม่มีข้อกำหนดด้านการกระจุกตัวของการลงทุน โดยอาจลงทุนกระจุกตัวในประเทศใดประเทศหนึ่ง ภูมิภาคภาคใดภูมิภาคหนึ่ง กลุ่มอุตสาหกรรมหนึ่ง หรืออาจกระจุกตัวในมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (Market capitalization) ใดๆ ก็ได้ ทั้งนี้ กองทุนจะจัดสรรการลงทุนตามประเภทสินทรัพย์ ดังแสดงในตารางต่อไปนี้ อนึ่ง การจัดสรรสินทรัพย์ในบางช่วงเวลาอาจจะอยู่นอกเหนือสัดส่วนนี้ได้เป็นครั้งคราวตามสภาวะตลาด
2. กรณีการลงทุนโดยตรง กองทุนอาจมีการลงทุนในหุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หน่วยลงทุนหรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate Investment Trusts ("REITS")) และตราสารที่เกี่ยวข้องกับตราสารทุน เช่น American Depositary Receipts ("ADRs") และ Global Depositary Receipts ("GDRs") โดยกองทุนจะลงทุนใน REITS ไม่เกิน 10% ของ NAV ของกองทุน อัตราส่วนการลงทุนในทรัพย์สินหรือธุรกรรมอื่นๆ กองทุนอาจลงทุนมากกว่า 20% ในตลาดเกิดใหม่ ผ่านการลงทุนโดยตรง หรือการลงทุนในหน่วยลงทุน CIS กองทุนอาจลงทุนในสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Financial Derivative Instruments) เช่น Futures, Foreign Currency Forward, Swaps,Total Return Swaps และ Options เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเสี่ยง หรือเพื่อการลงทุน ทั้งนี้ กองทุน จะคำนวณ Global Exposure โดยวิธี Commitment Approach และจะมีการลงทุนที่เกินกว่าส่วนของทุน (Leverage) ได้ไม่เกิน 50% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ กรณีการทำธุรกรรมประเภท Total Return Swaps การให้ยืมหลักทรัพย์ (Securities Lending) การขายโดยมีสัญญาซื้อคืน หรือการซื้อโดยมีสัญญาขายคืน (Repurchase / Reverse Repurchase Agreements) กองทุนอาจทำธุรกรรมดังกล่าวได้ไม่เกิน 50% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน กองทุนอาจพิจารณาทำธุรกรรมกู้ยืมเงินเป็นการชั่วคราวได้สูงสุดไม่เกิน 10% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุน |
||||||
สกุลเงิน (กองทุนรวมหลัก) | USD | ||||||
นโยบายป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (ในรูปสกุลเงินบาท) | ตามดุลยพินิจของผู้จัดการกองทุน | ||||||
นโยบายการจ่ายปันผล | ไม่จ่าย | ||||||
มูลค่าขั้นต่ำในการซื้อหน่วยลงทุน | ไม่กำหนด | ||||||
มูลค่าขั้นต่ำในการขายคืนหน่วยลงทุน | ไม่กำหนด | ||||||
วัน-เวลาทำการซื้อขายหน่วยลงทุน | ในระหว่างเวลาเริ่มเปิดทำการ – 14.00 น. | ||||||
วันรับเงินค่าขายคืนหน่วยลงทุน | T+4 | ||||||
ค่าธรรมเนียมการจัดการ | ไม่เกิน 2.14% ต่อปี1 (ปัจจุบันเรียกเก็บ 1.177% ต่อปี 1) | ||||||
ค่าธรรมเนียมผู้ดูแลผลประโยชน์ | ไม่เกิน 0.214%ต่อปี1 | ||||||
ค่าธรรมเนียมนายทะเบียนหน่วยลงทุน | ไม่เกิน 0.535%ต่อปี1 (ปัจจุบันเรียกเก็บ 0.107% ต่อปี 1) | ||||||
ค่าธรรมเนียมการขายหน่วยลงทุน | ไม่เกิน 3.21%1 (IPO : 0.50% ของมูลค่าหน่วยลงทุน, หลัง IPO : 1.00% ของมูลค่าหน่วยลงทุน)1 | ||||||
ค่าธรรมเนียมการรับซื้อคืนหน่วยลงทุน | ไม่เกิน 3.21%1 (ปัจจุบันยังไม่เรียกเก็บ) | ||||||
ค่าธรรมเนียมการซื้อขายหลักทรัพย์ | ไม่เกิน 0.535%1 (ปัจจุบันยังไม่เรียกเก็บ) |