- หน้าแรก
- ความรู้เกี่ยวกับการลงทุน
- กองทุนส่วนบุคคล
กองทุนส่วนบุคคล เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ สำหรับบุคคลธรรมดา และนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์และเงื่อนไขในการลงทุนแบบเฉพาะเจาะจง หรือต้องการจะลดภาระเรื่องเงินลงทุน ซึ่งผู้ลงทุนสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนได้หลากหลายไม่ ว่าจะลงทุนในตลาดทุน หรือตราสารทางการเงิน
กองทุนส่วนบุคคล เป็นสัญญาจ้างไม่ได้มีสภาพเป็นนิติบุคคล ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของลูกค้า ชื่อเจ้าของทรัพย์สิน ยังคงเป็นชื่อของลูกค้า โดยมีการระบุชื่อของบริษัทจัดการควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าที่บริหารโดยบริษัทจัดการ ใด
ลูกค้าสามารถควบคุมและกำหนดนโยบายให้บริษัทจัดการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และนโยบายตามที่ลูกค้าต้องการได้
ทรัพย์สินของลูกค้าจะถูกฝากไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สิน เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยผู้รับฝากทรัพย์สินต้องเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าในสถานที่ที่มีความ มั่นคง ปลอดภัย และแยกทรัพย์สินออกจากทรัพย์สินของตัวผู้รับฝากทรัพย์สินเอง
สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นผู้กำกับดูแลการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการผู้จัดการกองทุน และผู้รับฝากทรัพย์สินให้เป็นไปตามกฎหมาย และระบบที่เกี่ยวข้อง
ข้อดีในการจ้างผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน
นโยบายการลงทุน
1. กองทุนประเภทตราสารหนี้ (Fixed Income Fund)
เน้นการลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ เป็นการหาดอกผลจากรายได้ ดอกเบี้ยรับจากการลงทุนในตราสารการเงินต่างๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารหนี้ และเงินฝาก เป็นต้น
2. กองทุนผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible Fund)
เป็นกองทุนที่เน้นผสมผสาน การลงทุนทั้งในตราสารหนี้ และตราสารทุนไว้ด้วยกัน โดยสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารทุนจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุน ตามความเหมาะสมของสภาวะการณ์ในแต่ละขณะ
3. กองทุนประเภทตราสารทุน (Equity Fund)
เน้นการลงทุนในตราสารทุน ประเภทของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ได้แก่ หุ้นสามัญ ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุน เป็นต้น รายได้รับมาจากเงินปันผล และส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์
กองทุนส่วนบุคคล เป็นสัญญาจ้างไม่ได้มีสภาพเป็นนิติบุคคล ดังนั้น กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินยังเป็นของลูกค้า ชื่อเจ้าของทรัพย์สิน ยังคงเป็นชื่อของลูกค้า โดยมีการระบุชื่อของบริษัทจัดการควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าที่บริหารโดยบริษัทจัดการ ใด
ลูกค้าสามารถควบคุมและกำหนดนโยบายให้บริษัทจัดการดำเนินการตามวัตถุประสงค์ และนโยบายตามที่ลูกค้าต้องการได้
ทรัพย์สินของลูกค้าจะถูกฝากไว้กับผู้รับฝากทรัพย์สิน เพื่อป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยผู้รับฝากทรัพย์สินต้องเก็บรักษาทรัพย์สินของลูกค้าในสถานที่ที่มีความ มั่นคง ปลอดภัย และแยกทรัพย์สินออกจากทรัพย์สินของตัวผู้รับฝากทรัพย์สินเอง
สำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็นผู้กำกับดูแลการจัดการกองทุนส่วนบุคคลของบริษัทจัดการผู้จัดการกองทุน และผู้รับฝากทรัพย์สินให้เป็นไปตามกฎหมาย และระบบที่เกี่ยวข้อง
ข้อดีในการจ้างผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล
เพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน
- โอกาสในการลงทุนในตราสารต่างๆ สูง
- มีผู้ชำนาญการดูแลใกล้ชิด
- มีข้อมูลข่าวสารที่เพียบพร้อม เชื่อถือได้ และทันเหตุการณ์
- มีการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนมากกว่าการลงทุนด้วยตนเอง
- มีระบบการบริหารที่เป็นมาตรฐาน
- บุคคลากรและการปฏิบัติการ
- การลงทุนและการควบคุมความเสี่ยง
นโยบายการลงทุน
1. กองทุนประเภทตราสารหนี้ (Fixed Income Fund)
เน้นการลงทุนเฉพาะตราสารหนี้ เป็นการหาดอกผลจากรายได้ ดอกเบี้ยรับจากการลงทุนในตราสารการเงินต่างๆ เช่น พันธบัตร หุ้นกู้ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารหนี้ และเงินฝาก เป็นต้น
2. กองทุนผสมแบบยืดหยุ่น (Flexible Fund)
เป็นกองทุนที่เน้นผสมผสาน การลงทุนทั้งในตราสารหนี้ และตราสารทุนไว้ด้วยกัน โดยสัดส่วนการลงทุนในตราสารหนี้ และตราสารทุนจะขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของผู้จัดการกองทุน ตามความเหมาะสมของสภาวะการณ์ในแต่ละขณะ
3. กองทุนประเภทตราสารทุน (Equity Fund)
เน้นการลงทุนในตราสารทุน ประเภทของหลักทรัพย์ที่ลงทุน ได้แก่ หุ้นสามัญ ใบสำคัญแสดงสิทธิซื้อหุ้นสามัญ หน่วยลงทุนของกองทุนรวมตราสารทุน เป็นต้น รายได้รับมาจากเงินปันผล และส่วนต่างของราคาหลักทรัพย์