บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) (KTAM) กำหนดแนวทางการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นโดยบริษัทจัดการในนามกองทุน และการเปิดเผยข้อมูล เพื่อผลประโยชน์ของกองทุนเป็นสำคัญ โดยหากมีกรณีที่เกี่ยวกับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ บริษัทจัดการจะพิจารณาโดยถือเอาผลประโยชน์ของกองทุนฯ เป็นหลัก อีกทั้งเป็นการสนับสนุนบรรษัทภิบาลที่ดี และให้สอดคล้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด บริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ โดยจะดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงในนามกองทุนฯ ดังต่อไปนี้
หลักเกณฑ์การพิจารณาการใช้สิทธิออกเสียงในฐานะผู้ถือหุ้น
รายละเอียดของประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การรับรองงบฐานะการเงินและ ผลการดำเนินงานประจำปี ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับหรือต่อมูลค่าหุ้น (shareholder’s value)
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณางบการเงินและคำอธิบายเพิ่มเติม ในหมายเหตุงบการเงินของผู้ตรวจสอบบัญชี รวมถึงรายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (“บริษัทจดทะเบียน”) แล้วเห็นว่าไม่มีส่วนใดแสดงข้อมูลไม่ถูกต้อง รวมทั้งตรวจรายการที่เกี่ยวโยงกันระหว่างบริษัทจดทะเบียน หรือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้บริหารว่ามีความถูกต้องตรงกับที่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมและเป็นผลประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียน อีกทั้ง จะเปรียบเทียบฐานะการเงินของบริษัทจดทะเบียนจากปีที่ผ่านมา ว่ากลยุทธ์การดำเนินงานสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ หากเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หรือในกรณีที่ข้อมูลประกอบการพิจารณไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
2. การเปลี่ยนประเภทธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน หรือวัตถุประสงค์ของบริษัทจดทะเบียน หรือการปรับโครงสร้างบริษัทจดทะเบียนที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อบริษัทฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียนในระยะยาว ตลอดจนเงื่อนไขและข้อเสนอต่างๆ มีความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น หากเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หรือในกรณีที่ข้อมูลประกอบการพิจารณไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
3. การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัท
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณาถึงโครงสร้างคณะกรรมการแล้ว มีความเหมาะสมและมีความเป็นอิสระ ไม่เอื้อให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอำนาจตัดสินใจเบ็ดเสร็จ อัตราส่วนกรรมการอิสระในคณะกรรมการไม่ควรน้อยกว่า 1 ใน 3 และกรรมการอิสระไม่เป็นผู้บริหารหรือไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทนั้นมาก่อน คณะกรรมการควรเปิดกว้างให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสำคัญของบริษัทและควรมีความมุ่งมั่นที่จะประกอบกิจการเพื่อความสำเร็จสูงสุดของผู้ถือหุ้นและบริษัทจดทะเบียน คุณสมบัติที่เหมาะสมของกรรมการ คือเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน มีความน่าเชื่อถือ มีเวลาเพียงพอให้บริษัทจดทะเบียนและมีความเป็นอิสระในการทำหน้าที่ เช่น ไม่เป็นกรรมการในหลายบริษัทหรือเป็นกรรมการของบริษัทคู่แข่งซึ่งอาจมีผลประโยชน์ขัดกับบริษัทจดทะเบียนหรือเป็นกรรมการของบริษัทอื่นที่มีผลประโยชน์เกี่ยวเนื่องแอบแฝง ทำให้การตัดสินใจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ จะพิจารณาคุณสมบัติในรายละเอียดของข้อมูลเบื้องต้นของกรรมการ เช่น อายุ ประสบการณ์การทำงาน ประวัติการศึกษา การถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้คุณสมบัติโดยรวมของกรรมการเหมาะสมกับการประกอบธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน หากเป็นกรรมการเดิมที่จะแต่งตั้งเข้ามาใหม่ ควรดูผลการปฏิบัติงานของกรรมการเดิมที่ผ่านมาว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจหรือไม่ เช่น ประวัติการเข้าร่วมประชุม การร่วมเสนอความคิดเห็นที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและส่วนรวม หากเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หรือในกรณีที่ข้อมูลประกอบการพิจารณไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
บริษัทฯ อาจพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หากกรรมการมีพฤติกรรมที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดผล ดังนี้
4. การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่กรรมการของบริษัทจดทะเบียน การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงานของบริษัทจดทะเบียน
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าผลประกอบการและการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปในทางที่ดีตามความรับผิดชอบและผลงานของกรรมการแต่ละรายและทั้งคณะ ดังนั้น ค่าตอบแทนกรรมการเป็นเป้าหมายเพื่อก่อให้เกิดความจูงใจต่อกรรมการของบริษัทจดทะเบียนให้ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปในทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทางบริษัทฯ จะพิจารณาถึงระดับค่าตอบแทนกรรมการให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน จะมากกว่าหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ บริษัทฯ จะพิจารณาอัตราที่เหมาะสม โดยพิจารณาตามขนาดของบริษัท อัตราการเติบโตของผลการดำเนินงานของบริษัท สัดส่วนของค่าตอบแทนพิเศษของกรรมการต่อผลการดำเนินงาน รวมทั้งจะพิจารณาถึงแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น แผนการเสนอขายหุ้นให้กลุ่มบุคคลเพียงบางราย (Stock Option Plans) แผนการออกหลักทรัพย์หรือให้สิทธิซื้อหุ้นแก่กรรมการ/พนักงาน (Employee Stock Option Plans - ESOP) แผนการจ่ายโบนัสกรรมการ หรือแผนการจัดสรรหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้นเดิม (Stock Right Plan) ให้อยู่ในระดับสมเหตุสมผล นอกจากนี้ โดยหลักการมูลค่าของหุ้นที่ให้นั้น ควรจะสะท้อนมูลค่าในอนาคตมากกว่ามูลค่าปัจจุบัน หรือราคาเสนอขายควรใช้ราคาตลาดเปรียบเทียบ เช่น อาจใช้ราคาเฉลี่ยปัจจุบันของราคาตลาดในช่วงระยะเวลาที่ไม่สั้นหรือยาวเกินไป เช่น 15-30 วัน เพื่อที่จะได้อ้างอิงจากราคาปัจจุบันโดยเฉลี่ย สำหรับแผนการออกหลักทรัพย์/หรือให้สิทธิซื้อหุ้นแก่กรรมการ/พนักงาน (ESOP) ผลกระทบของการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิม (Dilution effect) ไม่ควรเกิน 1% ต่อปีและการจัดสรรการให้สิทธิแก่กรรมการและพนักงานในการซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนไม่ควรเกินคนละ 5% ยกเว้นหากกรรมการและพนักงานมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของบริษัทค่อนข้างมากก็สามารถที่จะจัดสรรการให้สิทธิแก่กรรมการและพนักงานดังกล่าวเกินร้อยละ 5 % หากเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หรือในกรณีที่ข้อมูลประกอบการพิจารณไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
5. การจำกัดความรับผิดของกรรมการและการเพิ่มเงินชดใช้ค่าเสียหายให้กรรมการ
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณาเห็นว่ากรณีที่บริษัทเสนอให้เพิ่มส่วนชดใช้ค่าเสียหายให้กรรมการหรือชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางกฎหมายเฉพาะกรณีที่สามารถพิสูจน์และเชื่อได้ว่ากรรมการได้พึงปฏิบัติหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทอย่างสุดความสามารถในช่วงเวลานั้นๆ แล้วและออกเสียงคัดค้าน (Against) ในกรณีที่บริษัทเสนอให้ลดหรือจำกัดความรับผิดของกรรมการหรือเสนอให้กรรมการไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ หากมีความเสียหายจากการกระทำผิดพลาดในหน้าที่ความรับผิดชอบที่ตนปฏิบัติหน้าที่อยู่ อีกทั้ง หากข้อมูลไม่เพียงพอในการพิจารณาบริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
6. การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินสำคัญ การซื้อขายหรือให้เช่ากิจการ การควบหรือรวม กิจการ การจ้างบริหาร และการครอบงำกิจการ และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวโยงกันและก่อให้เกิดธุรกรรมที่ มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นพิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณาว่าการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันกับการได้มาซึ่งสินทรัพย์หรือจำหน่ายของบริษัทจดทะเบียน เป็นประโยชน์กับบริษัทจดทะเบียนหรือไม่ และเงื่อนไขของรายการเป็นธรรมหรือไม่ ราคาและเงื่อนไขควรพิจารณาในรายละเอียดข้อมูลให้ชัดเจน อ้างอิงกับราคาตลาดหรือ ผู้ประเมินราคาอิสระ หรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอิสระ จากบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือได้ หรือที่ปรึกษาทางการเงินประกอบ อีกทั้ง ควรมีมาตรการสอบทานรายการที่ได้รับอนุมัติด้วย หากมีการขอสัตยาบันสำหรับรายการระหว่างกันที่ทำไปแล้ว ถ้าเห็นว่าเป็นรายการที่เกิดประโยชน์ส่วนตัวเฉพาะกับผู้ที่เกี่ยวข้องทำให้บริษัทจดทะเบียนเสียหาย ควรให้ยกเลิกรายการนั้นและไม่ให้การรับรองสัตยาบันใดๆ สำหรับการควบหรือการรวมกิจการ การจ้างบริหารและการครอบงำกิจการ บริษัทฯ จะทำการวิเคราะห์หรือใช้บทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ โดยจะพิจารณาถึงรายการดังกล่าว ว่าจะส่งผลประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียน ตลอดจนเงื่อนไขต่างๆ มีความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม ส่วนธุรกรรมที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จะพิจารณาถึงผลประโยชน์ของบริษัทจดทะเบียนเป็นหลัก ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่าธุรกรรมดังกล่าว เป็นประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียน ก็จะพิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) และหากธุรกรรมดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียน บริษัทฯ จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) ส่วนสำหรับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่บริษัทฯ มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์มีเพียงบริษัทเดียวคือ KTB ที่ทาง KTB ถือหุ้นบริษัท ประมาณ 99% ทางบริษัทฯ ได้ใช้ดุลพินิจในการออกเสียงปราศจาก ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยถือเป็นการใช้สิทธิออกเสียงเสมือนบริษัทจดทะเบียนทั่วไป หากเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หรือในกรณีที่ข้อมูลประกอบการพิจารณไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
7. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียน เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การไม่เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม การปรับโครงสร้างหนี้ การออกหุ้นกู้ การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ และการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (Warrant) พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณา เหตุผลและความเหมาะสมการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัทต่างๆ เช่น การเพิ่มทุนจะพิจารณาถึงวัตถุประสงค์การเพิ่มทุน ประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียนหรือผู้ถือหุ้น ระดับความเสี่ยงยอมรับได้ ผลกระทบต่อการถือครองหุ้นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ จะพิจารณาถึงวิธีการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนว่าจะจัดสรรหุ้นให้บุคคลใดบ้าง (ผู้ถือหุ้นเดิม/ประชาชนทั่วไปหรือบุคคลเพียงบางรายหรือนิติบุคคล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ) ทั้งนี้ แต่ละวิธีจะมี Dilution Effect ต่อผู้ถือหุ้นต่างกันและมีผลกระทบต่อการบริหารงานทางธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน (เนื่องจากอาจมีตัวแทนของผู้ถือหุ้นเพิ่มทุนนั้นเป็นกรรมการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน) นอกจากนี้ บริษัทฯ จะดูการจัดสรรหุ้นที่เหลือจากการจองซื้อของผู้มีสิทธิ ควรกำหนดให้เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ส่วนราคาเสนอขายให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ ก.ล.ต. และระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ เช่น การใช้วิธีสำรวจความต้องการของนักลงทุน Book building หรือใช้ราคาเทียบกับราคาตลาดในปัจจุบัน หากราคาเสนอขายต่ำกว่าราคาตลาดมาก (ต่ำกว่า 20 %) ซึ่งไม่ขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม บริษัทฯ จะพิจารณาค่อนข้างละเอียดเพราะอาจมีผลกระทบต่อราคาหุ้นและผลประโยชน์ของบริษัทจดทะเบียนที่จะได้รับ หากมีผลกระทบทางลบต่อราคาหุ้นค่อนข้างมากและมีผลเสียต่อบริษัทจดทะเบียนมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ บริษัทฯ จะทำการออกเสียงคัดค้าน (Against) ส่วนการลดทุน บริษัทฯ ก็จะใช้แนวทางตัดสินใจการออกเสียงเดียวกันกับการเพิ่มทุน สำหรับการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น บริษัทฯ จะพิจารณาว่าการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้เงินอย่างชัดเจน วิธีการจัดสรรมีความสมเหตุสมผลและมีการกำหนดราคาที่เหมาะสม
การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ บริษัทฯ จะพิจารณาถึงการเปิดเผยลักษณะและรายละเอียดของหลักทรัพย์แปลงสภาพ ระยะเวลาใช้สิทธิ การจัดสรรหุ้นที่เหลือจากการใช้สิทธิของหลักทรัพย์แปลงสภาพ ว่ามีผลกระทบต่อราคาหุ้น สัดส่วนการถือหุ้นเทียบกับผลประโยชน์ที่บริษัทจดทะเบียนจะได้รับหากเป็นผลดี บริษัทฯ ก็จะพิจารณา เห็นด้วย (For) หากไม่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียนก็จะทำการออกเสียงคัดค้าน (Against) หากเมื่อพิจารณาข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียน ทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามดังที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หรือในกรณีที่ข้อมูลประกอบการพิจารณไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
8. การแต่งตั้งและถอดถอนผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียน
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณาชื่อผู้สอบบัญชีและชื่อสำนักงานสอบบัญชี ถึงความน่าเชื่อถือของสำนักงานหรือตรวจสอบรายชื่อผู้สอบบัญชีจากการขึ้นบัญชีเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่ถูกต้อง ตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หรือ ตลาดหลักทรัพย์กำหนด บริษัทฯ จะทำการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีกับปีที่ผ่านมาไม่ควรแตกต่างกันมากนัก หากมีค่าธรรมเนียมที่เพิ่มมากขึ้นจากเดิมจะต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนว่าเพิ่มขึ้นเพราะเหตุใด เช่น มีปริมาณงานการตรวจสอบเพิ่มขึ้นเป็นต้น บริษัทจดทะเบียนควรแจ้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอบบัญชีกับบริษัทจดทะเบียนว่ามีความเป็นอิสระจากกันอย่างแท้จริง เช่น ไม่เป็นที่ปรึกษาทางด้านบัญชีของบริษัทจดทะเบียนหรือเป็นผู้ตรวจสอบภายในบริษัทจดทะเบียน อีกทั้ง บริษัทจดทะเบียนไม่ควรใช้ผู้สอบบัญชีรายเดิมติดต่อกันเกินกว่า 5 ปี ควรเว้นช่วงอย่างน้อย 2 รอบปีบัญชีขึ้นไป ยกเว้นกรณีที่เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สามารถใช้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ นอกจากนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชี บริษัทจดทะเบียนควรแจ้งเหตุผลการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชีอย่างชัดเจน หากเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามดังที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) อีกทั้ง หากข้อมูลไม่เพียงพอในการพิจารณาบริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
9. การแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัทจดทะเบียน
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นวาระแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ/ข้อบังคับของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้ถูกต้องและสอดคล้องกับที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้พิจารณาอนุมัติเพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปในทางที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น หากเมื่อพิจารณาการแก้ไขข้อบังคับของบริษัทจดทะเบียนแล้วมีผลทางลบต่อบริษัทจดทะเบียนและเป็นการเสียประโยชน์ของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) อีกทั้ง หากข้อมูลไม่เพียงพอในการพิจารณาบริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
10. การพิจารณาวาระอื่นๆ
บริษัทฯ จะเห็นสมควรงดออกเสียง (Abstain) หากมีวาระอื่นแทรกในการประชุมที่ต้องใช้สิทธิออกเสียงโดยไม่แจ้งเป็นการล่วงหน้า เนื่องจาก มิได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการลงทุนของบริษัทก่อน
11. วาระที่ไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์การออกเสียง
ในกรณีที่บริษัทผู้ออกตราสารทุนเสนอเรื่องที่ไม่ได้มีการกำหนดในแนวทางการใช้สิทธิออกเสียง บริษัทฯ จะออกเสียงโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมและเป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นสำคัญ
หลักเกณฑ์การพิจารณาในการใช้สิทธิออกเสียงในฐานะผู้ถือตราสารหนี้
หลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิออกเสียงในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวม
หลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิออกเสียงในฐานะผู้ถือหน่วย Infra และหน่วย Property และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
การพิจารณารายละเอียดของการประชุมฯ เพื่อใช้สิทธิออกเสียงในนามกองทุนฯ
บริษัทจัดการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการประชุมฯ ต่อคณะกรรมการจัดการลงทุน โดยคณะกรรมการจัดการลงทุนจะพิจารณาใช้สิทธิออกเสียงอย่างเป็นอิสระ มีการปฏิบัติตามแนวทางในการป้องกันการทำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเคร่งครัด ตามหลักบรรษัทภิบาล และเป็นไปตามนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทฯ โดยถือเอาผลประโยชน์ของกองทุนฯ เป็นสำคัญ เพื่ออนุมัติให้สายงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงในนามกองทุนฯ ต่อไป ทั้งนี้ หากมีการพิจารณาใช้สิทธิออกเสียงใดที่ต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงผลกระทบ / ผลดี / ผลเสีย ที่มีต่อกองทุนฯ อย่างมีนัยสำคัญ (เช่น ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน การจ่ายเงินปันผล ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับหรือต่อมูลค่าหุ้น ,การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินสำคัญ การซื้อขายหรือให้เช่ากิจการ การควบ หรือรวมกิจการ การจ้างบริหาร และการครอบงำกิจการ ,การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการของบริษัท, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัท ,การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่กรรมการของบริษัท การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงานของบริษัท, การทำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น หรือการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ,การเปลี่ยนประเภทธุรกิจของบริษัท หรือวัตถุประสงค์ของบริษัท,การแก้ไขข้อบังคับของบริษัท หรือ การแต่งตั้งและถอดถอนผู้สอบบัญชีของบริษัท เป็นต้น) ให้บริษัทจัดการจัดทำบันทึกแสดงความจำนงค์ให้ฝ่ายวิจัยทำรายงานการวิเคราะห์ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการใช้สิทธิออกเสียงในวาระการประชุมฯ
สำหรับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุม ที่บริษัทฯ มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ กรณีที่กองทุนรวมลง ทุนในหน่วยลงทุนของอีกกองทุนรวมหนึ่ง ที่บริษัทฯ เป็นผู้บริหารจัดการ บริษัทฯ จะเลือกอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน เรื่อง การกำหนดมิให้กองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกันมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน สำหรับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกิดกับกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทฯ จะใช้ดุลพินิจในการพิจารณาออกเสียงโดยปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ถือเป็นการใช้สิทธิออกเสียงเสมือนการถือครองหน่วยลงทุนทั่วไป
หากผู้จัดการประชุมฯ มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบวาระการประชุม หลังจากที่คณะกรรมการจัดการลงทุนมีมติแล้วนั้น ให้บริษัทจัดการจัดทำรายงานนำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต่อคณะกรรมการจัดการลงทุนโดยเร็ว และหากมีวาระการประชุมฯ ใด ที่บริษัทผู้จัดการประชุมฯ มิได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาออกเสียงอย่างเพียงพอ คณะกรรมการจัดการลงทุนอาจมีมติงดออกเสียงในวาระการประชุมฯ ดังกล่าวได้
บริษัทฯ อาจพิจารณาไม่ใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมฯ ในกรณีที่กองทุนฯ ไม่ได้ลงทุนในหลักทรัพย์แล้ว ณ วันที่คณะกรรมการจัดการลงทุนมีมติ รวมถึงกรณีที่บริษัทฯ มิได้รับมอบอำนาจจากกองทุนฯ ให้ใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมด้วย
การจัดเตรียมเอกสารและดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงในนามของกองทุนฯ โดยผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทฯ
บริษัทจัดการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมประชุมฯ พร้อมจัดทำใบมอบฉันทะที่ระบุการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในแต่ละวาระการประชุมฯ ตามที่คณะกรรมการจัดการลงทุนของบริษัทฯ มีมติไว้ จากนั้น ให้ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทฯ อันได้แก่ พนักงานของบริษัทฯ / ผู้ดูแลผลประโยชน์ / ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนฯ / นายทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์ / ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ / กรรมการอิสระ / ผู้จัดการกองทุนของผู้ออกหลักทรัพย์ ดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงในนามของกองทุนฯ ผ่านการเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง หรือผ่านการแจ้งด้วยจดหมาย / หนังสือลงนาม / Instruction / จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการลงมติผ่านระบบออนไลน์ ที่ได้รับอนุญาตจากผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้จัดการประชุมฯ เพื่อแจ้งมติการลงคะแนนไปยังผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้จัดการประชุมฯ ทั้งนี้ การใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนของผู้รับมอบอำนาจ จะต้องเป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดการลงทุนของบริษัทฯ มีมติไว้และผู้รับมอบอำนาจจะไม่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงการออกเสียงลงคะแนนให้ต่างไปจากมติของคณะกรรมการจัดการลงทุนได้
การเปิดเผยแนวทางปฏิบัติในการใช้สิทธิออกเสียง และการดำเนินการใช้สิทธิออกเสียง ในนามกองทุนต่อผู้ลงทุน
เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าถึงและรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิออกเสียงของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงได้กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมของบริษัทฯ และรายงานการใช้สิทธิออกเสียงการประชุมของกองทุนที่บริษัทฯ เป็นผู้ใช้สิทธิออกเสียงและกองทุนที่มีการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนภายนอกเป็นผู้ใช้สิทธิออกเสียงต่อผู้ลงทุน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด โดยจะจัดทำรายงานเป็นรายไตรมาสและเปิดเผยไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ
1. "หลักทรัพย์" หมายถึง ตราสารทุน ตราสารหนี้ หน่วยลงทุนกองทุนรวมหรือทรัสต์ ซึ่งหมายรวมถึง หน่วย CIS กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์และทรัสต์เพื่อกิจการเงินร่วมลงทุน หรือทรัพย์สินอื่นที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์กำหนด
2. บริษัทฯ จะใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมฯ ของหลักทรัพย์ ที่กองทุนภายใต้การจัดการของบริษัทฯ ลงทุนอยู่ ยกเว้นในกรณีที่บริษัทฯ มิได้รับมอบอำนาจในการใช้สิทธิออกเสียงในนามกองทุน
3. บริษัทฯ จะปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเคร่งครัดและใช้สิทธิออกเสียง โดยถือเอาประโยชน์ของกองทุนภายใต้การจัดการเป็นสำคัญ
4. บริษัทฯ จะออกเสียงไม่เห็นด้วย (Against) สำหรับวาระการประชุมฯ ที่พิจารณาแล้วเห็นว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิหรือผลประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ หรือไม่เป็นประโยชน์ หรือมีเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหลักทรัพย์
5. บริษัทฯ จะออกเสียงเห็นด้วย (For) สำหรับวาระการประชุมฯ ที่พิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหลักทรัพย์ หรือไม่มีเหตุให้ต้องคัดค้าน รวมไปถึงวาระปกติทั่วไปที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจหรือการบริหารจัดการของผู้ออกหลักทรัพย์
6. บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain) สำหรับวาระการประชุมฯ ที่บริษัทฯ มีข้อมูลสนับสนุนไม่เพียงพอต่อการประเมินและตัดสินใจ หรือเป็นวาระอื่นที่แทรกในการประชุมฯ โดยไม่เป็นวาระที่มีการแจ้งล่วงหน้าให้บริษัทฯ ได้พิจารณาก่อน หากวาระการประชุมใดเข้าเงื่อนไขการงดออกเสียง แต่ไม่มีตัวเลือกงดออกเสียง บริษัทฯ จะออกเสียงไม่เห็นด้วยแทน
7. บริษัทฯ จะจัดให้มีการเปิดเผยแนวทางและรายงานการใช้สิทธิออกเสียง เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าถึงและรับทราบข้อมูลการไปใช้สิทธิออกเสียงของบริษัทฯ พร้อมกับจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ในภายหลัง
8. คณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้คณะกรรมการจัดการลงทุนของบริษัทฯ เป็นผู้พิจารณากำหนดแนวทางการใช้สิทธิออกเสียง ขั้นตอนการปฏิบัติงาน รวมไปถึงแนวทางการมอบฉันทะให้ตัวแทนไปใช้สิทธิออกเสียง ภายใต้นโยบายที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติ เพื่อดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงให้เป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาล หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล
2. บริษัทฯ จะใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมฯ ของหลักทรัพย์ ที่กองทุนภายใต้การจัดการของบริษัทฯ ลงทุนอยู่ ยกเว้นในกรณีที่บริษัทฯ มิได้รับมอบอำนาจในการใช้สิทธิออกเสียงในนามกองทุน
3. บริษัทฯ จะปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเคร่งครัดและใช้สิทธิออกเสียง โดยถือเอาประโยชน์ของกองทุนภายใต้การจัดการเป็นสำคัญ
4. บริษัทฯ จะออกเสียงไม่เห็นด้วย (Against) สำหรับวาระการประชุมฯ ที่พิจารณาแล้วเห็นว่าอาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิหรือผลประโยชน์ของผู้ถือหลักทรัพย์ หรือไม่เป็นประโยชน์ หรือมีเงื่อนไขที่ไม่เป็นธรรมต่อผู้ถือหลักทรัพย์
5. บริษัทฯ จะออกเสียงเห็นด้วย (For) สำหรับวาระการประชุมฯ ที่พิจารณาแล้วเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหลักทรัพย์ หรือไม่มีเหตุให้ต้องคัดค้าน รวมไปถึงวาระปกติทั่วไปที่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจหรือการบริหารจัดการของผู้ออกหลักทรัพย์
6. บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain) สำหรับวาระการประชุมฯ ที่บริษัทฯ มีข้อมูลสนับสนุนไม่เพียงพอต่อการประเมินและตัดสินใจ หรือเป็นวาระอื่นที่แทรกในการประชุมฯ โดยไม่เป็นวาระที่มีการแจ้งล่วงหน้าให้บริษัทฯ ได้พิจารณาก่อน หากวาระการประชุมใดเข้าเงื่อนไขการงดออกเสียง แต่ไม่มีตัวเลือกงดออกเสียง บริษัทฯ จะออกเสียงไม่เห็นด้วยแทน
7. บริษัทฯ จะจัดให้มีการเปิดเผยแนวทางและรายงานการใช้สิทธิออกเสียง เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าถึงและรับทราบข้อมูลการไปใช้สิทธิออกเสียงของบริษัทฯ พร้อมกับจัดเก็บเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิ เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ในภายหลัง
8. คณะกรรมการบริษัทมอบหมายให้คณะกรรมการจัดการลงทุนของบริษัทฯ เป็นผู้พิจารณากำหนดแนวทางการใช้สิทธิออกเสียง ขั้นตอนการปฏิบัติงาน รวมไปถึงแนวทางการมอบฉันทะให้ตัวแทนไปใช้สิทธิออกเสียง ภายใต้นโยบายที่คณะกรรมการบริษัทอนุมัติ เพื่อดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงให้เป็นไปตามหลักบรรษัทภิบาล หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และข้อกำหนดของหน่วยงานกำกับดูแล
หลักเกณฑ์การพิจารณาการใช้สิทธิออกเสียงในฐานะผู้ถือหุ้น
รายละเอียดของประเด็นต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. การรับรองงบฐานะการเงินและ ผลการดำเนินงานประจำปี ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับหรือต่อมูลค่าหุ้น (shareholder’s value)
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณางบการเงินและคำอธิบายเพิ่มเติม ในหมายเหตุงบการเงินของผู้ตรวจสอบบัญชี รวมถึงรายงานประจำปีของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (“บริษัทจดทะเบียน”) แล้วเห็นว่าไม่มีส่วนใดแสดงข้อมูลไม่ถูกต้อง รวมทั้งตรวจรายการที่เกี่ยวโยงกันระหว่างบริษัทจดทะเบียน หรือกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่และผู้บริหารว่ามีความถูกต้องตรงกับที่ได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมและเป็นผลประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียน อีกทั้ง จะเปรียบเทียบฐานะการเงินของบริษัทจดทะเบียนจากปีที่ผ่านมา ว่ากลยุทธ์การดำเนินงานสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ หากเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หรือในกรณีที่ข้อมูลประกอบการพิจารณไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
2. การเปลี่ยนประเภทธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน หรือวัตถุประสงค์ของบริษัทจดทะเบียน หรือการปรับโครงสร้างบริษัทจดทะเบียนที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อบริษัทฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียนในระยะยาว ตลอดจนเงื่อนไขและข้อเสนอต่างๆ มีความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น หากเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หรือในกรณีที่ข้อมูลประกอบการพิจารณไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
3. การแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัท
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณาถึงโครงสร้างคณะกรรมการแล้ว มีความเหมาะสมและมีความเป็นอิสระ ไม่เอื้อให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งมีอำนาจตัดสินใจเบ็ดเสร็จ อัตราส่วนกรรมการอิสระในคณะกรรมการไม่ควรน้อยกว่า 1 ใน 3 และกรรมการอิสระไม่เป็นผู้บริหารหรือไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของบริษัทหรือเคยเป็นเจ้าหน้าที่ของบริษัทนั้นมาก่อน คณะกรรมการควรเปิดกว้างให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสำคัญของบริษัทและควรมีความมุ่งมั่นที่จะประกอบกิจการเพื่อความสำเร็จสูงสุดของผู้ถือหุ้นและบริษัทจดทะเบียน คุณสมบัติที่เหมาะสมของกรรมการ คือเป็นผู้มีความรู้ความสามารถมีความเข้าใจในธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน มีความน่าเชื่อถือ มีเวลาเพียงพอให้บริษัทจดทะเบียนและมีความเป็นอิสระในการทำหน้าที่ เช่น ไม่เป็นกรรมการในหลายบริษัทหรือเป็นกรรมการของบริษัทคู่แข่งซึ่งอาจมีผลประโยชน์ขัดกับบริษัทจดทะเบียนหรือเป็นกรรมการของบริษัทอื่นที่มีผลประโยชน์เกี่ยวเนื่องแอบแฝง ทำให้การตัดสินใจไม่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดของผู้ถือหุ้น นอกจากนี้ บริษัทฯ จะพิจารณาคุณสมบัติในรายละเอียดของข้อมูลเบื้องต้นของกรรมการ เช่น อายุ ประสบการณ์การทำงาน ประวัติการศึกษา การถือหุ้นของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้คุณสมบัติโดยรวมของกรรมการเหมาะสมกับการประกอบธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน หากเป็นกรรมการเดิมที่จะแต่งตั้งเข้ามาใหม่ ควรดูผลการปฏิบัติงานของกรรมการเดิมที่ผ่านมาว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจหรือไม่ เช่น ประวัติการเข้าร่วมประชุม การร่วมเสนอความคิดเห็นที่สร้างสรรค์และเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นและส่วนรวม หากเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หรือในกรณีที่ข้อมูลประกอบการพิจารณไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
บริษัทฯ อาจพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หากกรรมการมีพฤติกรรมที่มีส่วนร่วมทำให้เกิดผล ดังนี้
- บริษัทจดทะเบียนมีผลประกอบการต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้เมื่อครั้งเริ่มก่อตั้งบริษัทจดทะเบียน
- บริษัทจดทะเบียนเกิดปัจจัยเสี่ยงต่อสิทธิประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ได้แก่ ให้สิทธิที่ไม่เท่าเทียมกันในการออกเสียง บริหารจัดการทรัพย์สินจนทำให้เกิด Dilution effect ต่อมูลค่าของผู้ถือหุ้น ห้ามไม่ให้ผู้ถือหุ้นใช้สิทธิในการเรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น
- หากมีหลักฐานแสดงเจตนาการกระทำผิดหรือปกปิดข้อมูลทางการเงิน/ บัญชี หรือมีพฤติกรรมเพิกเฉยกับมติคะแนนเสียงข้างมากของผู้ถือหุ้น
- ถ้าพบว่าประธานกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูงมีผลตอบแทนย้อนหลัง 2 ปีอยู่ในระดับชั้นต้นของอุตสาหกรรม (ประมาณ 1 ใน 5 ลำดับต้น) ในขณะที่ผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนอยู่ในระดับท้ายของอุตสาหกรรม (ประมาณ 1 ใน 5 ลำดับจากท้าย)
- จำนวนของคณะกรรมการ การออกเสียงลงมติไม่เห็นด้วยหากบริษัทจดทะเบียนเพิ่มหรือลดจำนวนกรรมการ โดยไม่ได้ขอความเห็นชอบจากผู้ถือหุ้น
- บริษัทจดทะเบียนแต่งตั้งกรรมการอิสระโดยกรรมการเข้าร่วมประชุมน้อย โดยปราศจากเหตุอันควร
- เคยเป็นลูกจ้างของบริษัทจดทะเบียนในตำแหน่งบริหารภายใน 5 ปีย้อนหลังนับจากวันที่เป็นกรรมการหรือเกี่ยวข้องกับบริษัทที่ปรึกษา ที่บริษัทหรือผู้บริหารระดับสูงใช้บริการอยู่ หรือ เกี่ยวข้องกับลูกค้ารายใหญ่ หรือผู้ให้บริการรายใหญ่ของบริษัท
- ไม่เป็นกรรมการบริษัทอื่น มากจนเกินไปจนทำให้กรรมการไม่สามารถมีเวลาการทำงานอย่างเหมาะสมให้กับบริษัท ทั้งนี้ จะพิจารณาถึงความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์ของกรรมการดังกล่าวเป็นหลัก รวมทั้งทางบริษัทฯ จะนับว่าการเป็นกรรมการบริษัทในเครือเป็นเหมือนบริษัทเดียวกัน
- เคยต้องโทษคดีเกี่ยวกับด้านการเงินการบัญชี การบริหารหรือ ต้องโทษคดีอาญา ทุจริตฉ้อโกง
- ประกอบกิจการที่เหมือนกับหรือแข่งขันกับบริษัทจดทะเบียน (เว้นแต่จะได้แจ้งให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบ ก่อนที่จะมีมติแต่งตั้ง)
- หากกรรมการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกู้ยืมเงินจากบริษัทจดทะเบียน (ยกเว้นเป็นสวัสดิการตามระเบียบหรือเป็นการให้กู้ยืมตามพรบ. ว่าด้วยธนาคารพาณิชย์)
4. การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่กรรมการของบริษัทจดทะเบียน การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงานของบริษัทจดทะเบียน
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณาแล้วเห็นว่าผลประกอบการและการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปในทางที่ดีตามความรับผิดชอบและผลงานของกรรมการแต่ละรายและทั้งคณะ ดังนั้น ค่าตอบแทนกรรมการเป็นเป้าหมายเพื่อก่อให้เกิดความจูงใจต่อกรรมการของบริษัทจดทะเบียนให้ผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปในทางที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทางบริษัทฯ จะพิจารณาถึงระดับค่าตอบแทนกรรมการให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน จะมากกว่าหรือน้อยกว่าขึ้นอยู่กับผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน นอกจากนี้ บริษัทฯ จะพิจารณาอัตราที่เหมาะสม โดยพิจารณาตามขนาดของบริษัท อัตราการเติบโตของผลการดำเนินงานของบริษัท สัดส่วนของค่าตอบแทนพิเศษของกรรมการต่อผลการดำเนินงาน รวมทั้งจะพิจารณาถึงแผนการจ่ายค่าตอบแทนที่ไม่ใช่ตัวเงิน เช่น แผนการเสนอขายหุ้นให้กลุ่มบุคคลเพียงบางราย (Stock Option Plans) แผนการออกหลักทรัพย์หรือให้สิทธิซื้อหุ้นแก่กรรมการ/พนักงาน (Employee Stock Option Plans - ESOP) แผนการจ่ายโบนัสกรรมการ หรือแผนการจัดสรรหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้นเดิม (Stock Right Plan) ให้อยู่ในระดับสมเหตุสมผล นอกจากนี้ โดยหลักการมูลค่าของหุ้นที่ให้นั้น ควรจะสะท้อนมูลค่าในอนาคตมากกว่ามูลค่าปัจจุบัน หรือราคาเสนอขายควรใช้ราคาตลาดเปรียบเทียบ เช่น อาจใช้ราคาเฉลี่ยปัจจุบันของราคาตลาดในช่วงระยะเวลาที่ไม่สั้นหรือยาวเกินไป เช่น 15-30 วัน เพื่อที่จะได้อ้างอิงจากราคาปัจจุบันโดยเฉลี่ย สำหรับแผนการออกหลักทรัพย์/หรือให้สิทธิซื้อหุ้นแก่กรรมการ/พนักงาน (ESOP) ผลกระทบของการลดสัดส่วนการถือครองหุ้นของผู้ถือหุ้นเดิม (Dilution effect) ไม่ควรเกิน 1% ต่อปีและการจัดสรรการให้สิทธิแก่กรรมการและพนักงานในการซื้อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนไม่ควรเกินคนละ 5% ยกเว้นหากกรรมการและพนักงานมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการบริหารงานของบริษัทค่อนข้างมากก็สามารถที่จะจัดสรรการให้สิทธิแก่กรรมการและพนักงานดังกล่าวเกินร้อยละ 5 % หากเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หรือในกรณีที่ข้อมูลประกอบการพิจารณไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
5. การจำกัดความรับผิดของกรรมการและการเพิ่มเงินชดใช้ค่าเสียหายให้กรรมการ
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณาเห็นว่ากรณีที่บริษัทเสนอให้เพิ่มส่วนชดใช้ค่าเสียหายให้กรรมการหรือชดใช้ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางกฎหมายเฉพาะกรณีที่สามารถพิสูจน์และเชื่อได้ว่ากรรมการได้พึงปฏิบัติหน้าที่ของตนเพื่อประโยชน์สูงสุดของบริษัทอย่างสุดความสามารถในช่วงเวลานั้นๆ แล้วและออกเสียงคัดค้าน (Against) ในกรณีที่บริษัทเสนอให้ลดหรือจำกัดความรับผิดของกรรมการหรือเสนอให้กรรมการไม่ต้องรับผิดชอบใดๆ หากมีความเสียหายจากการกระทำผิดพลาดในหน้าที่ความรับผิดชอบที่ตนปฏิบัติหน้าที่อยู่ อีกทั้ง หากข้อมูลไม่เพียงพอในการพิจารณาบริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
6. การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินสำคัญ การซื้อขายหรือให้เช่ากิจการ การควบหรือรวม กิจการ การจ้างบริหาร และการครอบงำกิจการ และการทำธุรกรรมที่เกี่ยวโยงกันและก่อให้เกิดธุรกรรมที่ มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้นพิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณาว่าการทำรายการที่เกี่ยวโยงกันกับการได้มาซึ่งสินทรัพย์หรือจำหน่ายของบริษัทจดทะเบียน เป็นประโยชน์กับบริษัทจดทะเบียนหรือไม่ และเงื่อนไขของรายการเป็นธรรมหรือไม่ ราคาและเงื่อนไขควรพิจารณาในรายละเอียดข้อมูลให้ชัดเจน อ้างอิงกับราคาตลาดหรือ ผู้ประเมินราคาอิสระ หรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญอิสระ จากบุคคลภายนอกที่น่าเชื่อถือได้ หรือที่ปรึกษาทางการเงินประกอบ อีกทั้ง ควรมีมาตรการสอบทานรายการที่ได้รับอนุมัติด้วย หากมีการขอสัตยาบันสำหรับรายการระหว่างกันที่ทำไปแล้ว ถ้าเห็นว่าเป็นรายการที่เกิดประโยชน์ส่วนตัวเฉพาะกับผู้ที่เกี่ยวข้องทำให้บริษัทจดทะเบียนเสียหาย ควรให้ยกเลิกรายการนั้นและไม่ให้การรับรองสัตยาบันใดๆ สำหรับการควบหรือการรวมกิจการ การจ้างบริหารและการครอบงำกิจการ บริษัทฯ จะทำการวิเคราะห์หรือใช้บทวิเคราะห์จากบริษัทหลักทรัพย์ต่าง ๆ โดยจะพิจารณาถึงรายการดังกล่าว ว่าจะส่งผลประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียน ตลอดจนเงื่อนไขต่างๆ มีความเหมาะสมและเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้นโดยรวม ส่วนธุรกรรมที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น บริษัทฯ จะพิจารณาถึงผลประโยชน์ของบริษัทจดทะเบียนเป็นหลัก ซึ่งหากพิจารณาแล้วเห็นว่าธุรกรรมดังกล่าว เป็นประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียน ก็จะพิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) และหากธุรกรรมดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียน บริษัทฯ จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) ส่วนสำหรับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหุ้นที่บริษัทฯ มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์มีเพียงบริษัทเดียวคือ KTB ที่ทาง KTB ถือหุ้นบริษัท ประมาณ 99% ทางบริษัทฯ ได้ใช้ดุลพินิจในการออกเสียงปราศจาก ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ โดยถือเป็นการใช้สิทธิออกเสียงเสมือนบริษัทจดทะเบียนทั่วไป หากเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หรือในกรณีที่ข้อมูลประกอบการพิจารณไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
7. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียน เช่น การเพิ่มทุน การลดทุน การไม่เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม การปรับโครงสร้างหนี้ การออกหุ้นกู้ การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ และการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น (Warrant) พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณา เหตุผลและความเหมาะสมการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัทต่างๆ เช่น การเพิ่มทุนจะพิจารณาถึงวัตถุประสงค์การเพิ่มทุน ประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียนหรือผู้ถือหุ้น ระดับความเสี่ยงยอมรับได้ ผลกระทบต่อการถือครองหุ้นอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ นอกจากนี้ บริษัทฯ จะพิจารณาถึงวิธีการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนว่าจะจัดสรรหุ้นให้บุคคลใดบ้าง (ผู้ถือหุ้นเดิม/ประชาชนทั่วไปหรือบุคคลเพียงบางรายหรือนิติบุคคล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ) ทั้งนี้ แต่ละวิธีจะมี Dilution Effect ต่อผู้ถือหุ้นต่างกันและมีผลกระทบต่อการบริหารงานทางธุรกิจของบริษัทจดทะเบียน (เนื่องจากอาจมีตัวแทนของผู้ถือหุ้นเพิ่มทุนนั้นเป็นกรรมการบริษัทจดทะเบียน ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน) นอกจากนี้ บริษัทฯ จะดูการจัดสรรหุ้นที่เหลือจากการจองซื้อของผู้มีสิทธิ ควรกำหนดให้เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ส่วนราคาเสนอขายให้เป็นไปตามข้อกำหนดของ ก.ล.ต. และระเบียบของตลาดหลักทรัพย์ เช่น การใช้วิธีสำรวจความต้องการของนักลงทุน Book building หรือใช้ราคาเทียบกับราคาตลาดในปัจจุบัน หากราคาเสนอขายต่ำกว่าราคาตลาดมาก (ต่ำกว่า 20 %) ซึ่งไม่ขายให้กับผู้ถือหุ้นเดิม บริษัทฯ จะพิจารณาค่อนข้างละเอียดเพราะอาจมีผลกระทบต่อราคาหุ้นและผลประโยชน์ของบริษัทจดทะเบียนที่จะได้รับ หากมีผลกระทบทางลบต่อราคาหุ้นค่อนข้างมากและมีผลเสียต่อบริษัทจดทะเบียนมากกว่าประโยชน์ที่จะได้รับ บริษัทฯ จะทำการออกเสียงคัดค้าน (Against) ส่วนการลดทุน บริษัทฯ ก็จะใช้แนวทางตัดสินใจการออกเสียงเดียวกันกับการเพิ่มทุน สำหรับการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น บริษัทฯ จะพิจารณาว่าการออกใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น มีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการใช้เงินอย่างชัดเจน วิธีการจัดสรรมีความสมเหตุสมผลและมีการกำหนดราคาที่เหมาะสม
การออกหลักทรัพย์แปลงสภาพ บริษัทฯ จะพิจารณาถึงการเปิดเผยลักษณะและรายละเอียดของหลักทรัพย์แปลงสภาพ ระยะเวลาใช้สิทธิ การจัดสรรหุ้นที่เหลือจากการใช้สิทธิของหลักทรัพย์แปลงสภาพ ว่ามีผลกระทบต่อราคาหุ้น สัดส่วนการถือหุ้นเทียบกับผลประโยชน์ที่บริษัทจดทะเบียนจะได้รับหากเป็นผลดี บริษัทฯ ก็จะพิจารณา เห็นด้วย (For) หากไม่เป็นประโยชน์ต่อบริษัทจดทะเบียนก็จะทำการออกเสียงคัดค้าน (Against) หากเมื่อพิจารณาข้อมูลของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจดทะเบียน ทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามดังที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) หรือในกรณีที่ข้อมูลประกอบการพิจารณไม่เพียงพอ บริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
8. การแต่งตั้งและถอดถอนผู้สอบบัญชีของบริษัทจดทะเบียน
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณาชื่อผู้สอบบัญชีและชื่อสำนักงานสอบบัญชี ถึงความน่าเชื่อถือของสำนักงานหรือตรวจสอบรายชื่อผู้สอบบัญชีจากการขึ้นบัญชีเป็นผู้ตรวจสอบบัญชีที่ถูกต้อง ตามข้อกำหนดของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) หรือ ตลาดหลักทรัพย์กำหนด บริษัทฯ จะทำการเปรียบเทียบค่าธรรมเนียมการสอบบัญชีกับปีที่ผ่านมาไม่ควรแตกต่างกันมากนัก หากมีค่าธรรมเนียมที่เพิ่มมากขึ้นจากเดิมจะต้องมีเหตุผลที่ชัดเจนว่าเพิ่มขึ้นเพราะเหตุใด เช่น มีปริมาณงานการตรวจสอบเพิ่มขึ้นเป็นต้น บริษัทจดทะเบียนควรแจ้งความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอบบัญชีกับบริษัทจดทะเบียนว่ามีความเป็นอิสระจากกันอย่างแท้จริง เช่น ไม่เป็นที่ปรึกษาทางด้านบัญชีของบริษัทจดทะเบียนหรือเป็นผู้ตรวจสอบภายในบริษัทจดทะเบียน อีกทั้ง บริษัทจดทะเบียนไม่ควรใช้ผู้สอบบัญชีรายเดิมติดต่อกันเกินกว่า 5 ปี ควรเว้นช่วงอย่างน้อย 2 รอบปีบัญชีขึ้นไป ยกเว้นกรณีที่เป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สามารถใช้สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ นอกจากนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชี บริษัทจดทะเบียนควรแจ้งเหตุผลการเปลี่ยนแปลงผู้สอบบัญชีอย่างชัดเจน หากเมื่อพิจารณาข้อมูลทั้งหมดแล้วมีส่วนใดที่ไม่ตรงตามดังที่กล่าวมานี้ บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) อีกทั้ง หากข้อมูลไม่เพียงพอในการพิจารณาบริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
9. การแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัทจดทะเบียน
พิจารณาเห็นด้วยหรือรับทราบ (For) ก็ต่อเมื่อทางบริษัทฯ พิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นวาระแก้ไขหนังสือบริคณห์สนธิ/ข้อบังคับของบริษัทจดทะเบียน เพื่อให้ถูกต้องและสอดคล้องกับที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้พิจารณาอนุมัติเพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนเป็นไปในทางที่ดีและเป็นประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้น หากเมื่อพิจารณาการแก้ไขข้อบังคับของบริษัทจดทะเบียนแล้วมีผลทางลบต่อบริษัทจดทะเบียนและเป็นการเสียประโยชน์ของผู้ถือหุ้น บริษัทฯ ก็จะพิจารณาไม่เห็นด้วย (Against) อีกทั้ง หากข้อมูลไม่เพียงพอในการพิจารณาบริษัทฯ จะทำการงดออกเสียง (Abstain)
10. การพิจารณาวาระอื่นๆ
บริษัทฯ จะเห็นสมควรงดออกเสียง (Abstain) หากมีวาระอื่นแทรกในการประชุมที่ต้องใช้สิทธิออกเสียงโดยไม่แจ้งเป็นการล่วงหน้า เนื่องจาก มิได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการลงทุนของบริษัทก่อน
11. วาระที่ไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์การออกเสียง
ในกรณีที่บริษัทผู้ออกตราสารทุนเสนอเรื่องที่ไม่ได้มีการกำหนดในแนวทางการใช้สิทธิออกเสียง บริษัทฯ จะออกเสียงโดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุนโดยรวมและเป็นไปตามหลักเกณฑ์การกำกับดูแลกิจการที่ดีเป็นสำคัญ
หลักเกณฑ์การพิจารณาในการใช้สิทธิออกเสียงในฐานะผู้ถือตราสารหนี้
- การเปลี่ยนประเภทธุรกิจของบริษัทผู้ออกตราสาร หรือวัตถุประสงค์ของกิจการ หรือการปรับโครงสร้างกิจการที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงานของบริษัทผู้ออกตราสารหนี้
- การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินสำคัญ การซื้อขายหรือให้เช่ากิจการ การควบหรือรวมกิจการ การจ้างบริหาร การครอบงำกิจการ การทำธุรกรรมที่เกี่ยวโยงกันและก่อให้เกิดธุรกรรมที่มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือตราสารหนี้และผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือตราสารหนี้
- การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดสิทธิของตราสารหนี้หรือผู้ออกตราสารหนี้ เช่น การเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดหนี้สินต่อทุน การเปลี่ยนแปลงคำจำกัดความของคำว่าหนี้สิน การเปลี่ยนแปลงหลักประกันหรือผู้ค้ำประกันตราสารหนี้
- การพิจารณาวาระอื่นๆ
- วาระที่ไม่ได้มีการกำหนดเกณฑ์การออกเสียง
หลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิออกเสียงในฐานะผู้ถือหน่วยลงทุนกองทุนรวม
- หลักการออกเสียงเพื่อรับรองงบฐานะการเงินและผลการดำเนินงานประจำปี ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของผู้ถือหน่วยลงทุน
- หลักการในการออกเสียงเพื่อแต่งตั้งหรือถอดถอนกรรมการของบริษัทจัดการกองทุนรวม
- หลักการในการออกเสียงเพื่อแต่งตั้งและถอดถอนผู้สอบบัญชีของกองทุนรวมหรือบริษัทจัดการกองทุนรวม
- หลักการในการพิจารณาวาระอื่นๆ
- หลักการในการพิจารณาเรื่องอื่นๆ ที่มิได้มีการกำหนดแนวทางการใช้สิทธิออกเสียง
หลักเกณฑ์ในการใช้สิทธิออกเสียงในฐานะผู้ถือหน่วย Infra และหน่วย Property และทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
- การรับรองงบฐานะการเงินและ ผลการดำเนินงานประจำปี ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนจะได้รับหรือต่อมูลค่าหน่วยลงทุน (shareholder’s value)
- พิจารณารับทราบการจ่ายประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหน่วยลงทุน
- การเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนเพื่อลงทุนในทรัพย์สินเพิ่มเติม การกำหนดราคาและจำนวนของหน่วยลงทุนที่จะออกและเสนอขายเพิ่มเติม
- วิธีการเสนอขายและการจัดสรรหน่วยลงทุนที่ออกและเสนอขายเพิ่มเติมและการนำหน่วยลงทุนใหม่จดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะบียนในตลาดหลักทรัพย์
- การแต่งตั้งและถอดถอนผู้สอบบัญชีของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์หรือทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
- การพิจารณาวาระอื่นๆ
- เรื่องอื่นๆ
การพิจารณารายละเอียดของการประชุมฯ เพื่อใช้สิทธิออกเสียงในนามกองทุนฯ
บริษัทจัดการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการประชุมฯ ต่อคณะกรรมการจัดการลงทุน โดยคณะกรรมการจัดการลงทุนจะพิจารณาใช้สิทธิออกเสียงอย่างเป็นอิสระ มีการปฏิบัติตามแนวทางในการป้องกันการทำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์อย่างเคร่งครัด ตามหลักบรรษัทภิบาล และเป็นไปตามนโยบายการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมผู้ถือหลักทรัพย์ของบริษัทฯ โดยถือเอาผลประโยชน์ของกองทุนฯ เป็นสำคัญ เพื่ออนุมัติให้สายงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงในนามกองทุนฯ ต่อไป ทั้งนี้ หากมีการพิจารณาใช้สิทธิออกเสียงใดที่ต้องทำการศึกษาวิเคราะห์ถึงผลกระทบ / ผลดี / ผลเสีย ที่มีต่อกองทุนฯ อย่างมีนัยสำคัญ (เช่น ฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน การจ่ายเงินปันผล ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับหรือต่อมูลค่าหุ้น ,การได้มาหรือจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินสำคัญ การซื้อขายหรือให้เช่ากิจการ การควบ หรือรวมกิจการ การจ้างบริหาร และการครอบงำกิจการ ,การแต่งตั้งและถอดถอนกรรมการของบริษัท, การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเงินทุนของบริษัท ,การจ่ายค่าตอบแทนพิเศษให้แก่กรรมการของบริษัท การเสนอขายหลักทรัพย์แก่กรรมการและพนักงานของบริษัท, การทำธุรกรรมที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ระหว่างบริษัทกับผู้ถือหุ้นและผู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้ถือหุ้น หรือการทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน ,การเปลี่ยนประเภทธุรกิจของบริษัท หรือวัตถุประสงค์ของบริษัท,การแก้ไขข้อบังคับของบริษัท หรือ การแต่งตั้งและถอดถอนผู้สอบบัญชีของบริษัท เป็นต้น) ให้บริษัทจัดการจัดทำบันทึกแสดงความจำนงค์ให้ฝ่ายวิจัยทำรายงานการวิเคราะห์ในประเด็นที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการใช้สิทธิออกเสียงในวาระการประชุมฯ
สำหรับการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุม ที่บริษัทฯ มีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ กรณีที่กองทุนรวมลง ทุนในหน่วยลงทุนของอีกกองทุนรวมหนึ่ง ที่บริษัทฯ เป็นผู้บริหารจัดการ บริษัทฯ จะเลือกอ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุน เรื่อง การกำหนดมิให้กองทุนรวมภายใต้การจัดการของบริษัทจัดการเดียวกันมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน สำหรับความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่เกิดกับกองทุนส่วนบุคคลและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ บริษัทฯ จะใช้ดุลพินิจในการพิจารณาออกเสียงโดยปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ ถือเป็นการใช้สิทธิออกเสียงเสมือนการถือครองหน่วยลงทุนทั่วไป
หากผู้จัดการประชุมฯ มีการเปลี่ยนแปลงระเบียบวาระการประชุม หลังจากที่คณะกรรมการจัดการลงทุนมีมติแล้วนั้น ให้บริษัทจัดการจัดทำรายงานนำเสนอข้อมูลการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต่อคณะกรรมการจัดการลงทุนโดยเร็ว และหากมีวาระการประชุมฯ ใด ที่บริษัทผู้จัดการประชุมฯ มิได้แจ้งข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประกอบการพิจารณาออกเสียงอย่างเพียงพอ คณะกรรมการจัดการลงทุนอาจมีมติงดออกเสียงในวาระการประชุมฯ ดังกล่าวได้
บริษัทฯ อาจพิจารณาไม่ใช้สิทธิออกเสียงในการประชุมฯ ในกรณีที่กองทุนฯ ไม่ได้ลงทุนในหลักทรัพย์แล้ว ณ วันที่คณะกรรมการจัดการลงทุนมีมติ รวมถึงกรณีที่บริษัทฯ มิได้รับมอบอำนาจจากกองทุนฯ ให้ใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมด้วย
การจัดเตรียมเอกสารและดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงในนามของกองทุนฯ โดยผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทฯ
บริษัทจัดการจัดเตรียมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเข้าร่วมประชุมฯ พร้อมจัดทำใบมอบฉันทะที่ระบุการใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนในแต่ละวาระการประชุมฯ ตามที่คณะกรรมการจัดการลงทุนของบริษัทฯ มีมติไว้ จากนั้น ให้ผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทฯ อันได้แก่ พนักงานของบริษัทฯ / ผู้ดูแลผลประโยชน์ / ผู้รับฝากทรัพย์สินของกองทุนฯ / นายทะเบียนผู้ออกหลักทรัพย์ / ผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ / กรรมการอิสระ / ผู้จัดการกองทุนของผู้ออกหลักทรัพย์ ดำเนินการใช้สิทธิออกเสียงในนามของกองทุนฯ ผ่านการเข้าร่วมประชุมด้วยตนเอง หรือผ่านการแจ้งด้วยจดหมาย / หนังสือลงนาม / Instruction / จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึงการลงมติผ่านระบบออนไลน์ ที่ได้รับอนุญาตจากผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้จัดการประชุมฯ เพื่อแจ้งมติการลงคะแนนไปยังผู้ออกหลักทรัพย์หรือผู้จัดการประชุมฯ ทั้งนี้ การใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนของผู้รับมอบอำนาจ จะต้องเป็นไปตามที่คณะกรรมการจัดการลงทุนของบริษัทฯ มีมติไว้และผู้รับมอบอำนาจจะไม่มีอำนาจในการเปลี่ยนแปลงการออกเสียงลงคะแนนให้ต่างไปจากมติของคณะกรรมการจัดการลงทุนได้
การเปิดเผยแนวทางปฏิบัติในการใช้สิทธิออกเสียง และการดำเนินการใช้สิทธิออกเสียง ในนามกองทุนต่อผู้ลงทุน
เพื่อให้ผู้ลงทุนเข้าถึงและรับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการไปใช้สิทธิออกเสียงของบริษัทฯ บริษัทฯ จึงได้กำหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลแนวทางในการใช้สิทธิออกเสียงในที่ประชุมของบริษัทฯ และรายงานการใช้สิทธิออกเสียงการประชุมของกองทุนที่บริษัทฯ เป็นผู้ใช้สิทธิออกเสียงและกองทุนที่มีการแต่งตั้งผู้จัดการกองทุนภายนอกเป็นผู้ใช้สิทธิออกเสียงต่อผู้ลงทุน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนด โดยจะจัดทำรายงานเป็นรายไตรมาสและเปิดเผยไว้บนเว็บไซต์ของบริษัทฯ