1. บทนำ
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เริ่มจัดตั้งเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2539 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว จำนวน 200 ล้านบาท โดยเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเพียงแห่งเดียวที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.99 บริษัทได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ ประเภทการจัดการกองทุนรวม และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล จากกระทรวงการคลัง โดยบริษัทรับบริหารจัดการกองทุนประเภทต่างๆ และทรัพย์สินให้กับบุคคลโดยทั่วไป สถาบัน องค์กร และรัฐวิสาหกิจ ในการดำเนินธุรกิจการจัดการกองทุนนั้นบริษัทตระหนักดีว่าปัจจัยในเรื่องความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมทั้งความซื่อสัตย์สุจริต ความโปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประกอบธุรกิจของบริษัท ดังจะเห็นได้จากผลการดำเนินงานของบริษัทที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทได้รับการสนับสนุนจากลูกค้า นักลงทุน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทำให้ธุรกิจของบริษัทมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
คณะกรรมการบริษัท ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้มีการพิจารณากำหนดนโยบายด้านบรรษัทภิบาลและแนวทางปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลดังกล่าว เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรในเชิงบรรษัทภิบาลในบริษัท
นโยบายและแนวทางปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของบริษัทว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้นำเอาหลักการและแนวทางภายใต้หลักบรรษัทภิบาลมาประยุกต์ใช้โดยตลอด หลักการและแนวทางดังกล่าวนับได้ว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จและมีความเจริญก้าวหน้ามาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
2. หลักการบรรษัทภิบาล
ความหมายของบรรษัทภิบาล หรือธรรมาภิบาล คือ การจัดโครงสร้างและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการโดยการกำหนดบทบาทและแนวทาง หรือวิธีการปฏิบัติงานโดยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจเป็นมาตรฐานในการจัดการกิจการที่ดีขึ้น จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือยอมรับมากขึ้นทั้งในและระหว่างประเทศ ทั้งยังก่อให้เกิดผลสำเร็จขึ้นได้อย่างแท้จริง และในทุกระดับขององค์กรเริ่มตั้งแต่ระดับผู้ถือหุ้น ระดับคณะกรรมการบริษัท ระดับผู้บริหารและระดับพนักงาน รวมไปถึงการกำหนดวิธีการให้บุคลากรทุกคนนำหลักบรรษัทภิบาลไปเผยแพร่และปฏิบัติโดยการสร้างความสัมพันธ์กับบุคลากรทั้งภายในองค์กรด้วยกันเองและบุคคลภายนอก คือ นักลงทุน ลูกค้าประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภายใต้การนำหลักบรรษัทภิบาล ดังต่อไปนี้มาใช้ คือ
หลักบรรษัทภิบาล 7 ประการ ประกอบด้วย
ประการที่ 1 แสดงกลยุทธ์และขีดความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการในระยะยาวอย่างยั่งยืน โดยไม่ทำธุรกิจที่เสี่ยงต่อการทำลายขีดความสามารถ หรือมูลค่าองค์กรในระยะสั้น (Creation of Long Term Valued Added without Short Term Exploitation) เช่น จะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) หรือความมุ่งมั่นขององค์กร (Strategic Intent) ให้เหมาะสมกับขีดความสามารถของตนเพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นผลสำเร็จ เพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) ในการปฏิบัติงาน เป็นที่พึงพอใจของผู้ถือหุ้น ลูกค้า นักลงทุนโดยเท่าเทียมกัน ไม่กระทำการหรือธุรกิจที่เสี่ยงต่อการขาดทุน หรือเพิ่มค่าใช้จ่ายมากเกินไปในระยะสั้นที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย หรือลดระดับคุณภาพหรือมูลค่าของกิจการได้
ประการที่ 2 แสดงความยอมรับผิดและรับชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ (Accountability) ในระดับคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุนทั้งรายใหญ่และรายย่อย และบริหารกิจการของบริษัทให้มีความเจริญก้าวหน้า มั่นคง และก่อให้เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้น และนักลงทุน พร้อมทั้งรายงานสถานะและผลการดำเนินงานของบริษัทต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุนอย่างเท่าเทียมกัน สม่ำเสมอ และครบถ้วนตามความเป็นจริง
ในระดับพนักงาน ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมตามความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน รวมทั้งการให้รางวัลและการลงโทษพนักงานต้องกระทำด้วยความเสมอภาค สุจริตใจ พร้อมทั้งให้ความสำคัญต่อการพัฒนา การถ่ายทอดความรู้ และความสามารถของพนักงาน โดยให้โอกาสพนักงานอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
ในระดับลูกค้า/นักลงทุน ปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลง หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีต่อลูกค้า/นักลงทุน มุ่งมั่นในการสร้างความมั่นใจและความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยให้ได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเสนอขาย/การบริหารจัดการกองทุน อย่างครบถ้วนถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง อีกทั้งลูกค้าสามารถแจ้งข้อร้องเรียนต่างๆ ได้โดยผ่านช่องทางได้หลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์ของบริษัท เจ้าหน้าที่ด้านการตลาด เจ้าหน้าที่บริการลูกค้าสัมพันธ์ สำนักกำกับดูแลการปฏิบัติงาน หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
ประการที่ 3 มีความเข้าใจและมีขีดความสามารถในการประพฤติปฏิบัติได้ตามหน้าที่และความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นอย่างดียิ่ง
ในระดับคณะกรรมการของบริษัท มีการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ภายใต้มาตรฐานของอุตสาหกรรมและคณะกรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้สำนึกในบทบาทหน้าที่อย่างครบถ้วน มีการประเมินผลงานของฝ่ายจัดการอย่างเป็นระบบ และมีการทบทวนแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่แท้จริง รวมทั้งการทบทวนและให้ความเห็นชอบกับกลยุทธ์และนโยบายที่สำคัญ โดยรวมถึงวัตถุประสงค์เป้าหมายและดัชนีชี้วัด (Key Performance Indicators – KPIs) ผลการปฏิบัติงานต่างๆ ของบริษัท
ในระดับผู้บริหาร มีการกำหนดแผนงานกลยุทธ์ในการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับขีดความสามารถที่แท้จริง มีการบริหารความเสี่ยงโดยครบถ้วนสมบูรณ์ มีระบบการควบคุมภายใน และติดตามการปฏิบัติงานที่สามารถประกันคุณภาพได้ว่า จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายและสร้างความมั่นใจในการนำพาธุรกิจไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองที่ดีได้อย่างยั่งยืน
ในระดับพนักงาน ต้องมีความเข้าใจ และมีขีดความสามารถเพียงพอตามขอบเขต หน้าที่ความรับผิดชอบในงานของตน ซึ่งรวมถึงความรักและความใส่ใจในงาน การเรียนรู้เพิ่มเติม มีความเข้าใจในวิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมทั้งเป้าหมายของตนและของบริษัท ตลอดจนให้ความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตามหลักบรรษัทภิบาลทุกประการ
ประการที่ 4 ส่งเสริมการปฏิบัติอันเป็นเลิศ และการมีจรรยาบรรณที่ดีในการประกอบธุรกิจ (Promotion of Best Practices) รวมถึงการสร้างวัฒนธรรม (Culture) จรรยาบรรณ (Code of Ethics and Business Conduct) และคุณธรรมอันรวมถึงความซื่อสัตย์ (Integrity) ในการปฏิบัติงานทำให้เกิดการเพิ่มคุณค่าให้แก่ตนเอง และบริษัท กรรมการ ฝ่ายจัดการ และพนักงานทุกระดับ ต้องกำหนดวิธีการและประพฤติปฏิบัติในทางที่สามารถขจัดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ได้อย่างรอบคอบ เหมาะสม มีความละอาย ความเกรงกลัวต่อการกระทำความผิด และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ โดยกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในธุรกิจของบริษัท ตลอดจนผลักดันและสนับสนุนให้พนักงานมีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา และตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ถือหุ้น ลูกค้า นักลงทุน ผู้บริหาร พนักงาน เป็นต้น
ประการที่ 5 มีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน และยุติธรรม (Equitable Treatment) เช่น ในระดับผู้ถือหุ้นลูกค้า และนักลงทุน จะไม่ถูกเอาเปรียบระหว่างกัน ต้องได้รับการพิจารณาให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งในเรื่องสิทธิและการได้รับข้อมูลสารสนเทศ นอกจากนี้ต้องรับรู้ถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ เช่น พนักงาน ลูกจ้าง คู่ค้า ผู้ลงทุน คู่แข่ง เป็นต้น จะต้องได้รับการคุ้มครองและการปฏิบัติที่ดีด้วย
ประการที่ 6 แสดงความโปร่งใส (Transparency) ในการดำเนินงาน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ เช่น มีกระบวนการตัดสินใจและขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน โปร่งใส เปิดเผยได้โดยการแสดงรายงาน และการวิเคราะห์ผลประกอบการและทิศทางในการดำเนินงานต่อผู้ถือหุ้น ลูกค้า นักลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยเท่าเทียมกัน เพียงพอ ชัดเจน และทันเวลา ทั้งนี้ควรจัดให้มีผู้รับผิดชอบทางด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ และการสื่อสารที่ดีในระดับคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดต่าง ๆ จะต้องมีความเห็นอย่างสมดุลและช่วยติดตามตรวจสอบการดำเนินกิจการ เสนอแนะให้มีการควบคุมและใช้ความระมัดระวัง เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ในอนาคต อย่างมั่นคงยั่งยืน
ประการที่ 7 มีความสำนึกที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and Environmental Awareness) อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อลดหรือขจัดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำธุรกิจของบริษัท เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขและมีความพึงพอใจร่วมกันด้วยคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้บริษัทได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การร่วมบริจาคการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาตามวาระต่าง ๆ บริจาคและช่วยเหลือสถานศึกษา รวมถึงองค์กรต่างๆ พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางสังคมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
3. หลักบรรษัทภิบาลในการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัท
ในการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัทนั้น คณะกรรมการบริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหาร และพนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) หรือความมุ่งมั่นขององค์กร (Strategic Intent) และพันธกิจ (Mission) ของบริษัท โดยจะต้องมีความสอดคล้องกับขีดความสามารถและการสร้างผลงานให้เกิดความสำเร็จได้อย่างแท้จริง ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจนโยบายรัฐบาล และสถานการณ์ต่าง ๆ อันจะแสดงให้เห็นภาวะแห่งการเข้าถึงหลักบรรษัทภิบาลที่ก่อให้เกิดปัญญาที่สูงส่งเป็นผลให้เกิดการเพิ่มมูลค่า หรือประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยเป็นที่ยอมรับและชื่นชมตลอดไป
ความมุ่งมั่นขององค์กรและวิสัยทัศน์ (Strategic Intent and Vision) การเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนที่มีการบริการที่ทันสมัย เป็นทางเลือกแรกของผู้ลงทุน มีผลประกอบการและขนาดของทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการเป็นอันดับ 1 ใน 4 ภายใน 5 ปี
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด (มหาชน) เริ่มจัดตั้งเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2539 ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียนและเรียกชำระแล้ว จำนวน 200 ล้านบาท โดยเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนเพียงแห่งเดียวที่มีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ถือหุ้นร้อยละ 99.99 บริษัทได้รับใบอนุญาตการประกอบธุรกิจ ประเภทการจัดการกองทุนรวม และการจัดการกองทุนส่วนบุคคล จากกระทรวงการคลัง โดยบริษัทรับบริหารจัดการกองทุนประเภทต่างๆ และทรัพย์สินให้กับบุคคลโดยทั่วไป สถาบัน องค์กร และรัฐวิสาหกิจ ในการดำเนินธุรกิจการจัดการกองทุนนั้นบริษัทตระหนักดีว่าปัจจัยในเรื่องความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ รวมทั้งความซื่อสัตย์สุจริต ความโปร่งใส เป็นธรรม และสามารถตรวจสอบได้ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการประกอบธุรกิจของบริษัท ดังจะเห็นได้จากผลการดำเนินงานของบริษัทที่ผ่านมา ซึ่งบริษัทได้รับการสนับสนุนจากลูกค้า นักลงทุน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทำให้ธุรกิจของบริษัทมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
คณะกรรมการบริษัท ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จึงได้มีการพิจารณากำหนดนโยบายด้านบรรษัทภิบาลและแนวทางปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลดังกล่าว เพื่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อันจะนำไปสู่การสร้างให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรในเชิงบรรษัทภิบาลในบริษัท
นโยบายและแนวทางปฏิบัติตามหลักบรรษัทภิบาลดังกล่าว ย่อมเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของบริษัทว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาบริษัทได้นำเอาหลักการและแนวทางภายใต้หลักบรรษัทภิบาลมาประยุกต์ใช้โดยตลอด หลักการและแนวทางดังกล่าวนับได้ว่ามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จและมีความเจริญก้าวหน้ามาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน
2. หลักการบรรษัทภิบาล
ความหมายของบรรษัทภิบาล หรือธรรมาภิบาล คือ การจัดโครงสร้างและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการโดยการกำหนดบทบาทและแนวทาง หรือวิธีการปฏิบัติงานโดยก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจเป็นมาตรฐานในการจัดการกิจการที่ดีขึ้น จะทำให้เกิดความน่าเชื่อถือยอมรับมากขึ้นทั้งในและระหว่างประเทศ ทั้งยังก่อให้เกิดผลสำเร็จขึ้นได้อย่างแท้จริง และในทุกระดับขององค์กรเริ่มตั้งแต่ระดับผู้ถือหุ้น ระดับคณะกรรมการบริษัท ระดับผู้บริหารและระดับพนักงาน รวมไปถึงการกำหนดวิธีการให้บุคลากรทุกคนนำหลักบรรษัทภิบาลไปเผยแพร่และปฏิบัติโดยการสร้างความสัมพันธ์กับบุคลากรทั้งภายในองค์กรด้วยกันเองและบุคคลภายนอก คือ นักลงทุน ลูกค้าประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ภายใต้การนำหลักบรรษัทภิบาล ดังต่อไปนี้มาใช้ คือ
หลักบรรษัทภิบาล 7 ประการ ประกอบด้วย
ประการที่ 1 แสดงกลยุทธ์และขีดความสามารถในการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับกิจการในระยะยาวอย่างยั่งยืน โดยไม่ทำธุรกิจที่เสี่ยงต่อการทำลายขีดความสามารถ หรือมูลค่าองค์กรในระยะสั้น (Creation of Long Term Valued Added without Short Term Exploitation) เช่น จะต้องมีการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) หรือความมุ่งมั่นขององค์กร (Strategic Intent) ให้เหมาะสมกับขีดความสามารถของตนเพื่อที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มได้เป็นผลสำเร็จ เพิ่มประสิทธิภาพ (Efficiency) และประสิทธิผล (Effectiveness) ในการปฏิบัติงาน เป็นที่พึงพอใจของผู้ถือหุ้น ลูกค้า นักลงทุนโดยเท่าเทียมกัน ไม่กระทำการหรือธุรกิจที่เสี่ยงต่อการขาดทุน หรือเพิ่มค่าใช้จ่ายมากเกินไปในระยะสั้นที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย หรือลดระดับคุณภาพหรือมูลค่าของกิจการได้
ประการที่ 2 แสดงความยอมรับผิดและรับชอบต่อผลการปฏิบัติหน้าที่ (Accountability) ในระดับคณะกรรมการบริษัทและผู้บริหาร ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเป็นธรรมต่อผู้ถือหุ้น นักลงทุนทั้งรายใหญ่และรายย่อย และบริหารกิจการของบริษัทให้มีความเจริญก้าวหน้า มั่นคง และก่อให้เกิดผลตอบแทนที่เหมาะสมแก่ผู้ถือหุ้น และนักลงทุน พร้อมทั้งรายงานสถานะและผลการดำเนินงานของบริษัทต่อผู้ถือหุ้นและนักลงทุนอย่างเท่าเทียมกัน สม่ำเสมอ และครบถ้วนตามความเป็นจริง
ในระดับพนักงาน ให้ผลตอบแทนที่เหมาะสมตามความรู้ ความสามารถ ความรับผิดชอบ และผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน รวมทั้งการให้รางวัลและการลงโทษพนักงานต้องกระทำด้วยความเสมอภาค สุจริตใจ พร้อมทั้งให้ความสำคัญต่อการพัฒนา การถ่ายทอดความรู้ และความสามารถของพนักงาน โดยให้โอกาสพนักงานอย่างทั่วถึงและสม่ำเสมอ
ในระดับลูกค้า/นักลงทุน ปฏิบัติตามสัญญา ข้อตกลง หรือเงื่อนไขต่าง ๆ ที่มีต่อลูกค้า/นักลงทุน มุ่งมั่นในการสร้างความมั่นใจและความพึงพอใจแก่ลูกค้า โดยให้ได้รับการบริการอย่างมีคุณภาพ และตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็ว พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเสนอขาย/การบริหารจัดการกองทุน อย่างครบถ้วนถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง อีกทั้งลูกค้าสามารถแจ้งข้อร้องเรียนต่างๆ ได้โดยผ่านช่องทางได้หลายช่องทาง เช่น เว็บไซต์ของบริษัท เจ้าหน้าที่ด้านการตลาด เจ้าหน้าที่บริการลูกค้าสัมพันธ์ สำนักกำกับดูแลการปฏิบัติงาน หรือ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็นต้น
ประการที่ 3 มีความเข้าใจและมีขีดความสามารถในการประพฤติปฏิบัติได้ตามหน้าที่และความรับผิดชอบ (Responsibility) เป็นอย่างดียิ่ง
ในระดับคณะกรรมการของบริษัท มีการกำหนดนโยบายที่เหมาะสมสอดคล้องกับสถานการณ์ภายใต้มาตรฐานของอุตสาหกรรมและคณะกรรมการต้องปฏิบัติหน้าที่ภายใต้สำนึกในบทบาทหน้าที่อย่างครบถ้วน มีการประเมินผลงานของฝ่ายจัดการอย่างเป็นระบบ และมีการทบทวนแผนการดำเนินธุรกิจของบริษัทให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ที่แท้จริง รวมทั้งการทบทวนและให้ความเห็นชอบกับกลยุทธ์และนโยบายที่สำคัญ โดยรวมถึงวัตถุประสงค์เป้าหมายและดัชนีชี้วัด (Key Performance Indicators – KPIs) ผลการปฏิบัติงานต่างๆ ของบริษัท
ในระดับผู้บริหาร มีการกำหนดแผนงานกลยุทธ์ในการทำธุรกิจที่สอดคล้องกับขีดความสามารถที่แท้จริง มีการบริหารความเสี่ยงโดยครบถ้วนสมบูรณ์ มีระบบการควบคุมภายใน และติดตามการปฏิบัติงานที่สามารถประกันคุณภาพได้ว่า จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายและสร้างความมั่นใจในการนำพาธุรกิจไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองที่ดีได้อย่างยั่งยืน
ในระดับพนักงาน ต้องมีความเข้าใจ และมีขีดความสามารถเพียงพอตามขอบเขต หน้าที่ความรับผิดชอบในงานของตน ซึ่งรวมถึงความรักและความใส่ใจในงาน การเรียนรู้เพิ่มเติม มีความเข้าใจในวิสัยทัศน์ พันธกิจ รวมทั้งเป้าหมายของตนและของบริษัท ตลอดจนให้ความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายตามหลักบรรษัทภิบาลทุกประการ
ประการที่ 4 ส่งเสริมการปฏิบัติอันเป็นเลิศ และการมีจรรยาบรรณที่ดีในการประกอบธุรกิจ (Promotion of Best Practices) รวมถึงการสร้างวัฒนธรรม (Culture) จรรยาบรรณ (Code of Ethics and Business Conduct) และคุณธรรมอันรวมถึงความซื่อสัตย์ (Integrity) ในการปฏิบัติงานทำให้เกิดการเพิ่มคุณค่าให้แก่ตนเอง และบริษัท กรรมการ ฝ่ายจัดการ และพนักงานทุกระดับ ต้องกำหนดวิธีการและประพฤติปฏิบัติในทางที่สามารถขจัดปัญหาความขัดแย้งทางผลประโยชน์ได้อย่างรอบคอบ เหมาะสม มีความละอาย ความเกรงกลัวต่อการกระทำความผิด และมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ตั้ง มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการปฏิบัติงานด้วยความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ โดยกำหนดนโยบายที่ชัดเจนเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในธุรกิจของบริษัท ตลอดจนผลักดันและสนับสนุนให้พนักงานมีการพัฒนาตนเองตลอดเวลา และตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันของกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ถือหุ้น ลูกค้า นักลงทุน ผู้บริหาร พนักงาน เป็นต้น
ประการที่ 5 มีการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างเท่าเทียมกัน และยุติธรรม (Equitable Treatment) เช่น ในระดับผู้ถือหุ้นลูกค้า และนักลงทุน จะไม่ถูกเอาเปรียบระหว่างกัน ต้องได้รับการพิจารณาให้เกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันทั้งในเรื่องสิทธิและการได้รับข้อมูลสารสนเทศ นอกจากนี้ต้องรับรู้ถึงสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ เช่น พนักงาน ลูกจ้าง คู่ค้า ผู้ลงทุน คู่แข่ง เป็นต้น จะต้องได้รับการคุ้มครองและการปฏิบัติที่ดีด้วย
ประการที่ 6 แสดงความโปร่งใส (Transparency) ในการดำเนินงาน สามารถอธิบายและตรวจสอบได้ เช่น มีกระบวนการตัดสินใจและขั้นตอนการทำงานที่ชัดเจน โปร่งใส เปิดเผยได้โดยการแสดงรายงาน และการวิเคราะห์ผลประกอบการและทิศทางในการดำเนินงานต่อผู้ถือหุ้น ลูกค้า นักลงทุน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายโดยเท่าเทียมกัน เพียงพอ ชัดเจน และทันเวลา ทั้งนี้ควรจัดให้มีผู้รับผิดชอบทางด้านการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้มีการนำเสนอข้อมูลสารสนเทศ และการสื่อสารที่ดีในระดับคณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการชุดต่าง ๆ จะต้องมีความเห็นอย่างสมดุลและช่วยติดตามตรวจสอบการดำเนินกิจการ เสนอแนะให้มีการควบคุมและใช้ความระมัดระวัง เพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินไปได้ในอนาคต อย่างมั่นคงยั่งยืน
ประการที่ 7 มีความสำนึกที่ต้องรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Social and Environmental Awareness) อันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อลดหรือขจัดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทำธุรกิจของบริษัท เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขและมีความพึงพอใจร่วมกันด้วยคุณภาพชีวิตที่สูงขึ้น นอกจากนี้บริษัทได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การร่วมบริจาคการดำเนินกิจกรรมทางศาสนาตามวาระต่าง ๆ บริจาคและช่วยเหลือสถานศึกษา รวมถึงองค์กรต่างๆ พร้อมทั้งสนับสนุนการจัดกิจกรรมทางสังคมของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องตามความเหมาะสม
3. หลักบรรษัทภิบาลในการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัท
ในการกำหนดวิสัยทัศน์และพันธกิจของบริษัทนั้น คณะกรรมการบริษัทได้เปิดโอกาสให้ผู้บริหาร และพนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) หรือความมุ่งมั่นขององค์กร (Strategic Intent) และพันธกิจ (Mission) ของบริษัท โดยจะต้องมีความสอดคล้องกับขีดความสามารถและการสร้างผลงานให้เกิดความสำเร็จได้อย่างแท้จริง ภายใต้สภาวะเศรษฐกิจนโยบายรัฐบาล และสถานการณ์ต่าง ๆ อันจะแสดงให้เห็นภาวะแห่งการเข้าถึงหลักบรรษัทภิบาลที่ก่อให้เกิดปัญญาที่สูงส่งเป็นผลให้เกิดการเพิ่มมูลค่า หรือประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ต่อผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม โดยเป็นที่ยอมรับและชื่นชมตลอดไป
ความมุ่งมั่นขององค์กรและวิสัยทัศน์ (Strategic Intent and Vision) การเป็นบริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุนที่มีการบริการที่ทันสมัย เป็นทางเลือกแรกของผู้ลงทุน มีผลประกอบการและขนาดของทรัพย์สินภายใต้การบริหารจัดการเป็นอันดับ 1 ใน 4 ภายใน 5 ปี